รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน
โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนวัดกาหรำ ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นางสาววิชุดา ไชยศรี
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดกาหรำ
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนวัดกาหรำ ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (D.L.Stufflebeam’ s CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน 4 ด้าน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนวัดกาหรำ 2) ความรับผิดชอบของนักเรียน ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเอง รับผิดชอบต่อครอบครัว รับผิดชอบต่อเพื่อน รับผิดชอบต่อโรงเรียน และรับผิดชอบต่อหน้าที่พลเมือง 3) คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียนข้อที่ 1.2 ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียน และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียน คณะกรรมการดำเนินโครงการ ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อโครงการฯ
โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 20 คน ประชากรที่เป็นคณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 20 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และบันทึกผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ข้อ 1.2 ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จำนวน 1 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่น แต่ละฉบับระหว่าง .93-.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยประเมินใน 4 ประเด็น คือ ความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ ก่อนการดำเนินโครงการโดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมิน ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมินพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 15 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการโดยประเมินใน 5 ประเด็น คือ ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ก่อนการดำเนินโครงการโดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมินตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินพบว่าด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 15 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการดำเนินโครงการ และผู้ปกครอง โดยประเมินใน 4 ประเด็น คือ การวางแผน การดำเนินการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุง ประเมินระหว่างการดำเนินการ โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมิน ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านกระบวนการของโครงการค่าน้ำหนัก ร้อยละ 20 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยประเมินใน 4 ประเด็น ดังนี้
4.1 ระดับคุณภาพการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนวัดกา หรำ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการดำเนินโครงการ และผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมิน ตามประเด็นตัวชี้วัดค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนวัดกาหรำ ปีการศึกษา 2563 ค่าน้ำหนัก ร้อยละ10 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ความรับผิดชอบของนักเรียน โรงเรียนวัดกาหรำ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ และผู้ปกครอง โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัว ด้านความรับผิดชอบต่อเพื่อน ด้านความรับผิดชอบต่อโรงเรียน และด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่พลเมือง โดยภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมินตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความรับผิดชอบของนักเรียน โรงเรียนวัดกาหรำ ปีการศึกษา 2563 ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 20 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวม และ ทุกประเด็นตัวชี้วัดพบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียนข้อที่ 1.2 ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนวัดกาหรำ ปีการศึกษา 2563 ค่าน้ำหนัก ร้อยละ10 ผลการประเมินคุณภาพเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับดีเลิศ ร้อยละ 83.52 ได้คะแนน 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนวัดกาหรำ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมิน ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินพบว่าด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนวัดกาหรำ ปีการศึกษา 2563 ค่าน้ำหนัก ร้อยละ10 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด พบว่าทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรนำผลการประเมินโครงการที่ได้เป็นข้อมูลในการวางแผน พัฒนากระบวนการดำเนินงาน โดยปรับปรุงกิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำ และส่งเสริมกิจกรรมที่อยู่ระดับดีให้ดียิ่งขึ้น
1.2 ผู้บริหาร และครู ควรมีวางแผนการดำเนินงานโครงการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนต่อไป
1.3 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการรายงานหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่อย่างวงกว้าง และสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน อย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการที่มีลักษณะองค์รวมโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) และควรมีการประเมินโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบอื่นๆ
2.2 ควรศึกษารูปแบบการพัฒนาการบริหารที่เสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เพื่อเป็นแนวทางการนำกระบวนการสู่การปฏิบัติ
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้ การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา