LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ชนิดและสมบัติของแร่

usericon

แร่ (Mineral) หมายถึง สารที่ประด้วยธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นของแข็งสีต่างๆ และพบในรูปผลึกต่างๆ เช่น แร่ฮีมาไทต์ แร่แมกนีไทต์ แร่ทองคำ แร่ดีบุก เป็นต้น
    สมบัติของแร่ หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของแร่แต่ละชนิดที่สามารถมองเห็น สัมผัส และพิสูจน์ตรวจสอบได้โดยใช้เครื่องมือง่ายได้แก่
    1. รูปผลึก (Crystal) หมายถึง ของแข็งเนื้อเดียวที่มีรูปทรงเหลี่ยมและมุมระหว่างผิวแน่นอน มีผิวหน้าเรียบ โดยจะมีหลายรูปร่าง เช่นรูปลูกบาศก์สี่เหลี่ยม รูปแท่งหกเหลี่ยมด้านเท่า รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นต้น แร่จะมีรูปผลึกเป็นสมบัติที่เฉพาะตัว บางชนิดมีผลึกสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง ผลึกที่มีเหลี่ยมครบสมบูรณ์จะเกิดขึ้นเมื่อมีเนื้อที่เพียงพอที่จะให้ผลึกโตได้ แร่ส่วนมากแล้วจะมีลักษณะผลึกไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีสารหลายชนิดเกิดปนอยู่ด้วย จึงทำให้สารแต่ละชนิดตกผลึกในเนื้อที่จำกัด ไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ เช่นแร่สีขาวใส แร่สีขาวขุ่น และดำที่พบในหินแกรนิต ซึ่งมีสารหลายชนิดปนกัน เม็ดทรายในหินทรายเป็นแร่ที่มีลักษณะเป็นเพียงเศษของผลึกเท่านั้น นอกจากนี้การเกิดผลึกที่สมบูรณ์จะเกิดได้ดีเมื่อสารละลายนั้นมีความเข้มข้นพอเหมาะในภาชนะที่อยู่นิ่ง และมีแกนให้ผลึกเกาะ
2. ความแข็ง (Hardness) หมายถึง ความคงทนของวัตถุต่อการขูดขีด แร่ทุกชนิดมีความแข็ง และเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแร่ ถ้านำแร่ 2 ก้อนมาขูดถูกันแล้วปรากฏว่า แร่ก้อนใดก้อนหนึ่งเป็นรอยขูด ส่วนอีกก้อนไม่มีรอยขูด แสดงว่าแร่ที่ไม่มีรอยขูดนั้นจะเป็นแร่ที่มีความแข็งมากกว่า ใช้เปรียบเทียบกับมาตรวัดความแข็งของโมห์ ซึ่งกำหนดให้เพชรมีความแข็งมากที่สุดเท่ากับ 10 ดังนี้
    เมื่อใช้ปลายนิ้วสัมผัสแล้วเป็นรอย     หมายถึง มีความแข็งประมาณ 1
    เมื่อใช้เล็บมือขูดแล้วเป็นรอย     หมายถึง มีความแข็งประมาณ 2
    เมื่อใช้สตางค์ทองแดงขูดแล้วเป็นรอย     หมายถึง มีความแข็งประมาณ 3
    เมื่อใช้มีดพับ หรือกระจกขูดแล้วเป็นรอย     หมายถึง มีความแข็งประมาณ 4
    เมื่อใช้แผ่นกระจกขูดแล้วเป็นรอย     หมายถึง มีความแข็งประมาณ 5
    เมื่อใช้ตะไบเหล็กขูดแล้วเป็นรอย     หมายถึง มีความแข็งประมาณ 6
    เมื่อใช้กระเบื้องขูดแล้วเป็นรอย     หมายถึง มีความแข็งประมาณ 7-10
    3. สี (Color) สัมผัสได้ด้วยการมองเห็น ทำให้สามารถคาดคะเนไว้ก่อนได้ว่า เป็นแร่ชนิดใดก่อนที่จะศึกษาสมบัติในข้ออื่นๆ แร่ส่วนมากมักจะมีสีสวย เช่น แร่ดีบุก มักจะมีสีน้ำตาล หรือดำ
    4. สีผงละเอียด (Streak) เป็นสมบัติเฉพาะตัวของแร่แต่ละชนิด อาจทำได้โดยนำแร่ขีดลงไปบนแผ่นขูดสีซึ่งเป็นแผ่นกระเบื้องที่ไม่เคลือบ ถ้าแร่นั้นอ่อนกว่าแผ่นขูดสีจะเห็นสีเป็นรอยขีดติดอยู่บนแผ่นขูดสี แต่ถ้าแร่นั้นแข็งกว่าก็จะไม่เห็นสีผงจะต้องใช้วิธีอื่นประกอบด้วย
    5. ความวาว (Luster) เป็นสมบัติในการสะท้อนแสงของแร่ แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ วาวเหมือนโลหะ วาวเหมือนเพชร วาวเหมือนแก้ว วาวเหมือนมุก
    6. การให้แสงผ่าน (Diaphaneity) เป็นสมบัติที่แสงผ่านแร่ได้ จะสังเกตจากบริเวณส่วนที่บางของขอบหรือมุมของก้อนแร่ แร่ที่ยอมให้แสงผ่านได้ดี เช่น แร่ควอทซ์บริสุทธิ์ แร่มัสโคไวท์ เป็นต้นส่วนแร่ที่ยอมให้แสงผ่านได้บ้าง เช่น แร่แคลไซต์ แร่ยิปซัม เป็นต้น และแร่ที่ไม่ยอมให้แสงผ่านหรือทึบแสง เช่น แร่แกรไฟต์ เป็นต้น
7. แนวแตกเรียบ (Clevage) หมายถึง รอยที่แตกเป็นระนาบเรียบตามโครงสร้างอะตอมในผลึกแร่ โดยทั่วไปรอยแตกนี้จะขนานไปกับหน้าผลึกแร่ แนวแตกนี้อาจเป็นระนาบเดียวหรือหลายระนาบก็ได้ ตัวอย่างในภาพด้านล่างนี้ แสดงให้เห็นว่าแร่ไมกา มีรอยแตกเรียบระนาบเดียว แร่เฟลด์สปาร์มีรอยแตกเรียบ 2 ระนาบตั้งฉากกัน แร่เฮไลต์มีรอยแตกเรียบ 3 ระนาบตั้งฉากกัน แร่แคลไซต์มีรอยแตกเรียบ 3 ระนาบเฉียงกัน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^