ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กระบวนการเกิดหินกับการใช้ประโยชน์
หิน (Rock) หมายถึง มวลของแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ เปลือกโลกประกอบด้วยชั้นของหินมานานกว่าหลายล้านปี หินบริเวณพื้นผิวเปลือกโลกจะมีการสึกกร่อนเนื่องจาก น้ำ น้ำแข็ง ลม และจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ส่งผลให้หินบนผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและลักษณะทางเคมีไปเป็นหินประเภทต่างๆ ได้
ลักษณะทั่วไปของหิน
หินเป็นวัตถุที่มีมากที่สุดในโลก เมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุอื่นๆ หินจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น
มีความแข็ง หรือสีที่แตกต่างกัน หินอาจจะประกอบด้วยแร่เพียงชนิดเดียว หรือประกอบด้วยแร่แคลไซท์
เพียงอย่างเดียว
การเกิดหิน
เมื่อน้ำไหลลงไปในรอยแตกของหินปูน มันจะละลายแร่ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แคลไซท์ ไปด้วยเมื่อน้ำไหลผ่านรอยแตกนั้นก็จะกว้างขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นถ้ำ น้ำที่ไหลหยดจากผนังถ้ำบางส่วนจะระเหยไปเหลือเพียงแร่แคลไซท์เคลือบเป็นแผ่นบางๆ ติดอยู่กับหิน เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปีชั้นของแร่แคลไซท์จะหนาขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บริเวณผนังถ้ำบางแห่งมีหินรูปร่างแปลกตาเกิดขึ้น การเกิดหินรูปร่าง แปลกประหลาดนี้เรียกว่า สเปลีโอเธม ซึ่งชนิดที่เรารู้จักกันดีที่สุดได้แก่ หินย้อยและหินงอก หินย้อยจะมีลักษณะย้อยลงมาจากเพดานถ้ำเหมือนหยาดน้ำแข็ง ส่วนหินงอกจะมีลักษณะเหมือนเขาตั้งขึ้นมาจากพื้นดิน บางครั้งถ้าหินงอกหินย้อยมา เชื่อมต่อกันก็จะเกิดเป็นเสาขึ้น
เรามักจะพบเห็นหินได้ทั่วไป โดยอาจอยู่ในลักษณะของเศษหินตามข้างทาง ในลักษณะก้อนกรวดตามธารน้ำ ลำคลอง หรือในลักษณะหินแข็งตามบริเวณภูเขาและหน้าผา แต่นอกจากหินที่เราพบเห็นได้โดยทั่วไปแล้ว ยังมีหินอีกเป็นจำนวนมากซึ่งถูกปิดทับอยู่ใต้ผิวพื้นโลก ซึ่งหินเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในโลกมาเป็นช่วงเวลานานและได้ผ่านการทับถมต่างๆ จนอยู่ในชั้นใต้ดินลึกลงไป ในทางธรณีวิทยานั้นได้แบ่งหินตามการกำเนิดเป็น 3 ชนิด ได้แก่ หินอัคนี หินตะกอนและหินแปร
การกำเนิดหินและการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของหินชนิดต่างๆ จะมีความสัมพันธ์กันตามวัฏจักรของหิน