LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การประเมินโครงการโรงเรียนรอบรู้สุขภาพดีมีความสุข

usericon

ชื่อผลงาน    : การประเมินโครงการโรงเรียนรอบรู้สุขภาพดีมีความสุข โรงเรียนวัดเจดีย์
         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
ลักษณะผลงาน    : การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
ผู้ประเมิน     : นายณฤทธิ์ หนูสมแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเจดีย์
ปีพุทธศักราช     : 2563

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    การประเมินโครงการโรงเรียนรอบรู้สุขภาพดีมีความสุข โรงเรียนวัดเจดีย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความสอดคล้องและชัดเจนของวัตถุประสงค์ ความเหมาะสมของกิจกรรม และความสอดคล้องกับหลักการของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเหมาะสมของงบประมาณ ความเหมาะสมของสถานที่ ความพร้อมของสื่อและวัสดุอุปกรณ์ และหน่วยงานที่สนับสนุน 3)เประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน การตรวจสอบทบทวน และประเมินผลกิจกรรม การปรับปรุง แก้ไขและพัฒนา 4)เประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการ ด้านผลการดำเนินงาน 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และด้านความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ
    ประชากร ที่ใช้ในการประเมินโครงการนี้จำนวน 172 คน ประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 74 คน ครู จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 62 คน คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพโรงเรียน จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) ได้แก่ นักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดเจดีย์ ในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น จำนวน 80 คน ประกอบด้วย 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 28 คน 2) ครู จำนวน 7 คน 3) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 4) คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพโรงเรียน จำนวน 10 คน 5) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 28 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้ 1) แบบสอบถามประเมินประเด็นบริบทก่อนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนรอบรู้สุขภาพดีมีความสุข 2) แบบสอบถามประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า ประเมินระยะต้นและระหว่างโครงการ 3) แบบสอบถามประเมินประเด็นกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมประเมินระหว่างโครงการ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องด้านผลผลิตเกี่ยวกับสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ 5) แบบสอบถามด้านผลการดำเนินงานโรงเรียนรอบรู้สุขภาพดีมีความสุขทั้ง 10 องค์ประกอบ ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ
    การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0 ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
    ผลการประเมิน
     ผลการประเมินโครงการโรงเรียนรอบรู้สุขภาพดีมีความสุข โรงเรียนวัดเจดีย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น ทุกตัวชี้วัด และภาพรวมของโครงการดังนี้
        1. ด้านบริบทของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยความสอดคล้องกับหลักการของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องและชัดเจนของวัตถุประสงค์ ความเหมาะสมของกิจกรรม ตามลำดับ
        2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยทั้ง 5 ตัวชี้วัดพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัดเโดยด้านสถานที่มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลากร ด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ ด้านงบประมาณ และด้านหน่วยงานสนับสนุน ตามลำดับ
        3. ด้านกระบวนการของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยทั้ง 4 ตัวชี้วัดพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด โดยด้านการวางแผนการดำเนินงานมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินกิจกรรมตามแผน ด้านการตรวจสอบ ทบทวน ประเมินผลกิจกรรม และด้านการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา ตามลำดับ
        4. ด้านผลผลิตของโครงการโรงเรียนรอบรู้สุขภาพดีมีความสุข จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลผลิตด้านโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านผลการดำเนินงานโครงการ และด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตามลำดับ โดยแต่ละตัวชี้วัดมีผลการประเมินดังนี้
            4.1 การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยด้านการเรียนรู้และปฏิบัติจนเกิดพฤติกรรมสุขภาพ (รอบรู้) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสภาวะสุขภาพนักเรียน (สุขภาพดี) ด้านการมีความสุข (มีความสุข) ตามลำดับ
            4.2 การประเมินด้านผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 10 องค์ประกอบ โดยผลการประเมิน 3 ลำดับแรกพบว่า ด้านนโยบายส่งเสริมสุขภาพมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน ตามลำดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^