การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิตนักเรียน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน : นายจักกฤช กำพลวรรณ
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิตนักเรียน โรงเรียนวัดใหม่ทอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPPเModel) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตเโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัดและการได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ระบบบริหารจัดการ งบประมาณและทรัพยากร สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ 3) ประเมินกระบวนการ (ProcessเEvaluation) เกี่ยวกับการวางแผน การปฏิบัติการตามแผน การตรวจสอบและประเมิน การปรับปรุงและพัฒนา 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการ ด้านทักษะชีวิตของนักเรียน และด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนวัดใหม่ทอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น จำนวน 154 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive RandomเSampling) จำนวน 60 คนโดยเลือกศึกษาจาก 1) ครู จำนวน 7 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 23 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 23 คน 5) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครู และผู้บริหาร)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้ 1) แบบสอบถามประเมินประเด็นบริบทก่อนการดำเนินงานตามโครงการ 2) แบบสอบถามประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า 3) แบบสอบถามประเมินด้านกระบวนการ 4) แบบสอบถามประเมินด้านผลผลิต 5) แบบสอบถามประเมินทักษะชีวิตนักเรียน และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0 ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
การประเมินโครงการสร้างเสริมการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิตนักเรียน โรงเรียนวัดใหม่ทอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 มีผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด การได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ตามลำดับ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านสถานที่และวัสดุอุปกรณ์มีความเหมาะสมมากที่สุดเรองลงมาคือเด้านระบบบริหารจัดการเด้านความพร้อมของบุคลากร ด้านงบประมาณ และทรัพยากร ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ขั้นการวางแผน มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ขั้นการปฏิบัติตามแผน ขั้นการตรวจสอบ และประเมิน ขั้นการปรับปรุงและพัฒนา ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยในแต่ละตัวชี้วัดมีผลการประเมินดังนี้
4.1 ด้านผลการดำเนินงานโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านการดูแลรักษาสุขภาพอนามัย มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ
4.2 ด้านทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนวัดใหม่ทอน จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา รายตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านการติดต่อสื่อสาร และการสร้างสัมพันธภาพ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดการอารมณ์และความเครียด ด้านการรับรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น และด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ ตามลำดับ
4.3 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการพบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ และอยู่ในระดับมากที่สุด