รายงานการประเมินโครงการสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดและอบายมุขฯ
โรงเรียนหาดสำราญวิทยาคม ปีการศึกษา 2561 – 2562
ผู้รายงาน นางฉวีวรรณ รักษ์แก้ว ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหาดสำราญวิทยาคม
ปีที่ประเมิน 2561-2562
บทสรุป
การประเมินโครงการสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดและอบายมุขแก่นักเรียน โรงเรียน หาดสำราญวิทยาคม ปีการศึกษา 2561 – 2562 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิตของโครงการ
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 224 คน และปีการศึกษา 2562 จำนวน 214 คน ครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 42 คน และปีการศึกษา 2562 จำนวน 42 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2561 จำนวน 224 คน และปีการศึกษา 2562 จำนวน 214 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2561 จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .924 - .982 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows V.18
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมการดำเนินโครงการสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดและอบายมุขแก่นักเรียน โรงเรียนหาดสำราญวิทยาคม ปีการศึกษา 2561 – 2562 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การดำเนินโครงการสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดและอบายมุขแก่นักเรียน โรงเรียนหาดสำราญวิทยาคม ปีการศึกษา 2561 – 2562 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดและอบายมุขแก่นักเรียน โรงเรียนหาดสำราญวิทยาคม ปีการศึกษา 2561 – 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการประเมินโครงการสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดและอบายมุขแก่นักเรียน โรงเรียนหาดสำราญวิทยาคม ปีการศึกษา 2561 – 2562 ในด้านผลผลิต ได้แก่
4.1 ระดับคุณภาพการสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดและอบายมุขแก่นักเรียน โรงเรียน หาดสำราญวิทยาคม ปีการศึกษา 2561 – 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนโดยรวมทั้งห้ากลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4.2 พฤติกรรมนักเรียนที่สะท้อนคุณลักษณะการเป็นนักเรียนที่มีภูมิคุ้มกันสารเสพติดและอบายมุข ผ่านการประเมินระดับสถานศึกษาในปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 76.47 และปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 88.59 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 ข้อ 1.2 คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของผู้เรียน ผ่านการประเมินระดับสถานศึกษาปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับ ดีขึ้นไปร้อยละ 85 และปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 90 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งห้ากลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินการประเมินโครงการสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดและอบายมุขแก่นักเรียนโรงเรียนหาดสำราญวิทยาคม ปีการศึกษา 2561 – 2562 ของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งห้ากลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการมากยิ่งขึ้น
1.2 โรงเรียนควรเร่งรัดกิจกรรมเยี่ยมบ้าน เยี่ยมชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมกำกับติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล และร่วมชื่นชมผลงานอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรนำรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆ ที่เป็นภาพรวมของโรงเรียน เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหา หรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน