การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนฯ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ชื่อผู้ประเมิน : นายสุรชัย โมฬี
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมศักยภาพการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านกรุงหยันใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยใช้รูปแบบซิปป์เ(CIPPเModel)เประเมินโครงการในด้านสภาพแวดล้อมเด้านปัจจัยนำเข้าเด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ สื่อและวัสดุอุปกรณ์ และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ การดำเนินงานตามแผน การนิเทศกำกับติดตามผล การประเมินผลปรับปรุงพัฒนา การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ 4) เพื่อประเมินผลผลิต เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านกรุงหยันใต้ อำเภอทุ่งใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น จำนวน 210 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวน 73 คน ประกอบด้วย 1) ครู จำนวน 6 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 30 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน 4) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหารโรงเรียน)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามฉบับที่ 1 ประเมินด้านบริบทและด้านปัจจัย (ประเมินก่อนดำเนินงาน) แบบสอบถามฉบับที่ 2 ประเมินด้านกระบวนการ (ประเมินระหว่างดำเนินงาน) แบบสอบถามฉบับที่ 3 ประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับด้านผลการดำเนินงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ) แบบสอบถามฉบับที่ 4 ประเมินความความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows 16.0 ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นทุกตัวชี้วัดและภาพรวมของโครงการดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านบุคลากรของสถานศึกษามีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า การกำหนดทิศทางและกลยุทธ์มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานตามแผน การประเมินผลปรับปรุง พัฒนา และการนิเทศกำกับติดตามผล ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพบว่า โดยรวมมีผลการดำเนินงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในแต่ละด้านพบว่า
4.1 ด้านผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 9 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 9 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านสุขภาพร่างกายมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสุขภาพจิต ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านความรู้และทักษะ ด้านการรับรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ด้านทักษะชีวิต ด้านทักษะการแก้ปัญหา ตามลำดับ
4.2 ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด