การประเมินโครงการสร้างเสริมความรู้สู่สุขภาพดีเพื่อชีวีมีสุข
ส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านตูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ลักษณะผลงาน : การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
ผู้ประเมิน : นางตุ๊กตา บุญศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตูล
ปีการศึกษา : 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการสร้างเสริมความรู้สู่สุขภาพดีเพื่อชีวีมีสุข ตามแนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านตูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตเโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความสอดคล้องและชัดเจนของวัตถุประสงค์ ความเหมาะสมของกิจกรรม และความสอดคล้องกับหลักการของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเหมาะสมของงบประมาณ ความเหมาะสมของสถานที่ ความพร้อมของสื่อและวัสดุอุปกรณ์ และหน่วยงานที่สนับสนุน 3)เประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน การตรวจสอบทบทวน และประเมินผลกิจกรรม การปรับปรุง แก้ไขและพัฒนา 4)เประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการ ด้านผลการดำเนินงาน 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และด้านความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ
ประชากร ที่ใช้ในการประเมินโครงการนี้จำนวน 187 คน ประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 82 คน ครู จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 70 คน คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพโรงเรียน จำนวน 17 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งหมด 77 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวน 22 คน ครู จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 22 คน (ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 ที่เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง) กรรมการส่งเสริมสุขภาพโรงเรียน จำนวน 17 คน (ไม่รวมครูและนักเรียน) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมครูและผู้บริหารโรงเรียน)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้ 1) แบบสอบถามประเมินประเด็นบริบทก่อนการดำเนินงานตามโครงการสร้างเสริมความรู้สู่สุขภาพดีเพื่อชีวีมีสุข 2) แบบสอบถามประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า ประเมินระยะต้นและระหว่างโครงการ 3) แบบสอบถามประเมินประเด็นกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมประเมินระหว่างโครงการ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องด้านผลผลิตเกี่ยวกับสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ 5) แบบสอบถามด้านผลการดำเนินงานสร้างเสริมความรู้สู่สุขภาพดีเพื่อชีวีมีสุขทั้ง 10 องค์ประกอบ ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0 ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
1. ด้านบริบท ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการและความสอดคล้องกับหลักการของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ความสอดคล้องและชัดเจนของวัตถุประสงค์ และความเหมาะสมของกิจกรรม ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านสถานที่มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ ด้านงบประมาณ และด้านหน่วยงานสนับสนุน ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการวางแผนการดำเนินงาน มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินกิจกรรมตามแผนเด้านการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา และด้านการตรวจสอบทบทวนและประเมินผลกิจกรรม ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผลผลิตด้านโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านผลการดำเนินงานโครงการ และด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตามลำดับ โดยแต่ละตัวชี้วัดมีผลการประเมินดังนี้
4.1 ด้านผลผลิตของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด ด้านการเรียนรู้และปฏิบัติจนเกิดพฤติกรรมสุขภาพ (รอบรู้) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสภาวะสุขภาพนักเรียน (สุขภาพดี) ด้านการมีความสุข (มีความสุข) ตามลำดับ
4.2 ด้านผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ ผลการประเมิน 3 ลำดับแรกพบว่า ด้านนโยบายส่งเสริมสุขภาพ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน และด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน ตามลำดับ
4.3 ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมิน 3 ลำดับแรกพบว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมตามโครงการที่จัดขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือความร่วมมือของผู้ร่วมงานหรือผู้รับผิดชอบกิจกรรม กระบวนการดำเนินงานของโครงการ ตามลำดับ โดยผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการทราบเป้าหมาย/จุดเน้นของโรงเรียนอยู่ในระดับน้อยที่สุด ตามลำดับ