การประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตส่งเสริมการคิดและการอ่าน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวอนุธิดา อักษรxxxล
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตส่งเสริมการคิดและการอ่าน โรงเรียนวัดน้ำรอบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPPเModel) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตเโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเ1) ประเมินบริบท (ContextเEvaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย และการได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2)เประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ระบบการบริหารจัดการ งบประมาณและทรัพยากร สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ 3)เประเมินกระบวนการ (ProcessเEvaluation) เกี่ยวกับการวางแผน การปฏิบัติการตามแผน การตรวจสอบและประเมิน การปรับปรุงและพัฒนา 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านการคิดและการอ่านของนักเรียน และด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนวัดน้ำรอบ อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น จำนวน 115 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive RandomเSampling) จำนวน 54 คนโดยเลือกศึกษาจากครู จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จำนวน 21 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 21 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ 1) แบบสอบถามประเมินประเด็นบริบทก่อนการดำเนินงานตามโครงการ 2) แบบสอบถามประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า 3) แบบสอบถามประเมินด้านกระบวนการ 4) แบบสอบถามประเมินด้านผลผลิต และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0 ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการ จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ การได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ตามลำดับ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านระบบบริหารจัดการ ด้านงบประมาณ และทรัพยากร และด้านความพร้อมของบุคลากร ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการเจำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ขั้นการวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุดเรองลงมาคือ ขั้นการตรวจสอบและประเมิน ขั้นการปรับปรุงและพัฒนา และขั้นการปฏิบัติตามแผน ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการห้องสมุดมีชีวิตส่งเสริมการคิดและการอ่าน โรงเรียนวัดน้ำรอบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 2 ตัวชี้วัดพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า คุณลักษณะด้านการอ่านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คุณลักษณะด้านการคิด ตามลำดับ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกตัวชี้วัด