การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพนักเรียนโรงเรียนบ้านปงของ
ผู้วิจัย นายทเนตย์ จันแปงเงิน
การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพนักเรียนโรงเรียนบ้านปงของ (ธรรมราษฎร์นุกุล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPiest Model ของ Daniel L. Stufflebeam ประกอบด้วยการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยแยกออกเป็น 4 ส่วนขยาย ได้แก่ ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนและด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ครูจำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 60 คน และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านปงของ (ธรรมราษฎร์นุกุล) จำนวน 65 คน รวมทั้งสิ้น 142 ดำเนินการตามแผนงานปีการศึกษา 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามความคิดเห็น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ (Rating Scale) หาคุณภาพเครื่องมือจากความสอดคล้องของเนื้อหา (Validity) ค่าอำนวจจำแนกของแบบสอบถาม (Discrimination) และความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป IBM SPSS Statistics 24 และข้อมูลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็นนำไปวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (µ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทโครงการส่งเสริมส่งเสริมอาชีพนักเรียนโรงเรียนบ้านปงของ (ธรรมราษฎร์นุกุล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการส่งเสริมอาชีพนักเรียนโรงเรียนบ้านปงของ (ธรรมราษฎร์นุกุล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการโครงการส่งเสริมอาชีพนักเรียนโรงเรียนบ้านปงของ (ธรรมราษฎร์นุกุล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ด้านผลกระทบ พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.2 ด้านประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมอาชีพนักเรียนโรงเรียนบ้านปงของ (ธรรมราษฎร์นุกุล) พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับความคิดเห็นของผู้ปกครองและนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความพึงพอใจของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อโครงการส่งเสริมอาชีพนักเรียนโรงเรียนบ้านปงของ (ธรรมราษฎร์นุกุล) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับความพึงพอใจของผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ด้านความยั่งยืน พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านปงของ (ธรรมราษฎร์นุกุล) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปได้ว่าการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพนักเรียนของโรงเรียนบ้านปงของ (ธรรมราษฎร์นุกุล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ทำให้นักเรียนมีทักษะอาชีพ โดยกิจกรรมตามโครงการนั้นเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิผลตามที่โครงการได้ตั้งไว้ ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการทุกประการ สามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านปงของ (ธรรมราษฎร์นุกุล) ให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลต่อไป อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนางานด้านการบริหารงานในด้านวิชาการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และกิจการด้านอื่น ๆ เป็นต้น