รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภา
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวนันทิยา จันทร์สุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าไทร
ปีการศึกษา : ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ปรกอบด้วย ประชากรครู จำนวน 6 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 28 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 28 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 11 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .80-.90 2) แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับจำนวน/ปริมาณของการระดมทรัพยากรทั้ง 4 ด้าน และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 รวมแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงทั้ง 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 4.33, . = .59) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.25, S.D. = .45) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู โดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.20, .=.46) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.40, = .51) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = .48) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากเช่นกัน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.37, S.D. = .50) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเด็น ได้แก่
4.1 จำนวน/ปริมาณของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่
4.1.1 ผลการระดมทรัพยากรด้านบุคคลหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 11 รายการ ครอบคลุมการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับชั้น ตามความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4.1.2 ผลการระดมทรัพยากรด้านเงินทุนของ โครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน ในการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาสถานศึกษา และของผู้รับบริจาค ปีการศึกษา 2563 เป็นเงิน 378,280 บาท (สามแสนเจ็ดหมื่นแปดพันสองร้อยแปดสิบบาทถ้วน)
4.1.3 ผลการระดมทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน ในการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาสถานศึกษา และของผู้รับบริจาค ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 17 รายการ คิดเป็นมูลค่า 684,755 บาท (หกแสนแปดหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยห้สิบห้าบาทถ้วน)
4.1.4 โรงเรียนบ้านท่าไทร สามารถบริหารจัดการ โดยส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามโครงสร้างโรงเรียนนิติบุคคล ครอบคลุมทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป อย่างต่อเนื่อง
4.2 การมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.64, S.D. = .63) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.57, = .50) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.55, S.D. = .60) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 ผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.39, = .61) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D. = .54) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.26, S.D. = .58) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.4 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 ทั้ง 3 มาตรฐาน มีผลการประเมินในแต่ละมาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับดีเลิศ
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับดีเลิศ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับดี
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครอง มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.48, S.D. = .36) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, = .42) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.33, S.D. = .40) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรชี้แจง ทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง
2. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบ และแนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตามความเหมาะสม
3. โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการ และกิจกรรมต่างๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการระดมทรัพยากรการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
1. ให้มีการประเมินผลการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับการลงทุนทางการศึกษาของรัฐและเกิดความเสมอภาค
2. ให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นของทรัพยากรทางการศึกษาเป็นรายด้านเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับขนาดของโรงเรียน
3. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป