รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัช
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนนา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ปีการศึกษา 2563
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวอัฐภรณ์ สุทธินวล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนนา
ปีการศึกษา : ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนนา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการของโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยวัตถุประสงค์ ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 31 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 27 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และประชากรครู จำนวน 6 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.88-0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนนา ปีการศึกษา 2563 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนนา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = .10) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, = .26) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนนา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20, = .10) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.30, = .27) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดความเพียงพอของงบประมาณ ( = 4.30, = .67) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.00, = .50) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนนา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวม ทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.09, = .07) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียนและผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เท่ากัน ( = 4.08, S.D. = .06) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนนา ปีการศึกษา 2563 ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่
4.1 คุณภาพการขับเคลื่อนการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนนา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากได้คะแนนรวมเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = .09) ได้คะแนนเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = .80) ได้คะแนนเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เช่นกัน (= 4.21, = .06) ได้คะแนนเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 แสดงผลการประเมินความสามารถของนักเรียน ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.11, S.D. = .11) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และกลุ่มครู มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.11, = .13) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามลำดับ
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.50, S.D. = .16) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่ กลุ่มครู ( = 4.30, = .16) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = .18) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ค่าน้ำหนัก 100% ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรมีการ วางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2. ควรนำรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียน เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหา หรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน
3. กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ กำกับ ติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการโดยใช้รูปแบบอื่นๆ ในกรณีที่เป็นโครงการย่อยระดับกลุ่มงาน และควรประเมินโครงการระดับองค์กร โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ หรือซิปป์โมเดล (CIPP Model)
2. ควรมีการวิจัยพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ความยั่งยืนของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน