การพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาฯ
โดยใช้การมีส่วนร่วม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้วิจัย นายสังวร สุนันท์
โรงเรียน โรงเรียนขุขันธ์ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพโดยใช้การ
มีส่วนร่วม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขุขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินผลการการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพโดยใช้การมีส่วนร่วม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ CIPPIEST Model 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพโดยใช้การมีส่วนร่วม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 127 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) กลุ่มที่ 2 นักเรียนโรงเรียนขุขันธ์ จำนวน 358 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) กลุ่มที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย สำหรับการเก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 12 คน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงประเมิน โดยใช้ CIPPIEST Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการประเมินโครงการพัฒนาสภาพ แวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพโดยใช้การมีส่วนร่วม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 85 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 – 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 ฉบับที่ 2 สำหรับผู้เรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพโดยใช้การมีส่วนร่วม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ CIPPIEST Model ตามแนวคิดของ Stufflebeam and Shinkfield โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D.= 0.51)
ข้อที่มีระดับคุณภาพมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านผลผลิต (P: Product) อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.62, S.D.= 0.65) รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ (P: Process) อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.60, S.D.= 0.56) และรองลงมาคือ ด้านสภาวะแวดล้อม (C: Context) อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.58, S.D.= 0.52) ส่วนข้อที่มีระดับคุณภาพน้อยที่สุดคือ ด้านการถ่ายโยงความรู้
(T: Transportability Evaluation) อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D.= 0.68)
2. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อม
และแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพโดยใช้การมีส่วนร่วม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) พบว่า โรงเรียนขุขันธ์ มีนโยบายและแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพโดยใช้การมีส่วนร่วม
ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ต่างๆ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
หรือสถานประกอบการภายนอกสถานศึกษา และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กับโรงเรียนและหน่วยงานภายนอก มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และการนำผลการประเมินไปใช้อย่างยั่งยืน