LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาค

usericon

ชื่อเรื่อง :     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน
    เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5    
ชื่อผู้วิจัย :     นางธัญญารัตน์ ชูหว่าง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
         โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ปีการศึกษา :    2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) ประเมินผลและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วย ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา R&D (Research and Development) โดยมีแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One – Group Pretest – Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินความเหมาะสม รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าเบี่บงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (%) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) หาค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ (t – test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
    1) ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นให้นักเรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาวิชาตามลำดับ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนทำด้วยตนเองและกิจกรรมที่ทำเป็นกลุ่ม เมื่อเรียนจบในแต่ละเรื่องต้องการสรุปความรู้จากเรื่องที่เรียนโดยที่ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป แล้วจดบันทึกความรู้ที่สรุปได้เป็นภาษาของนักเรียนเอง มีการช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนด้วยกัน ต้องการครูที่มีการทบทวนเรื่องที่เรียนผ่านมาแล้วเมื่อชั่วโมงที่แล้วก่อนที่จะสอนเรื่องใหม่ โดยมีการทบทวนความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเรียนก่อนที่จะเริ่มสอน
2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (SMILE Model) มีองค์ประกอบของรูปแบบ 4 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบที่ 1 หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การรวบรวมความรู้และเลือกความรู้เดิม (Selection : S) ขั้นที่ 2 การจัดการความรู้เดิมเป็นพื้นฐานในการรู้จักความรู้ใหม่ (Management : M) ขั้นที่ 3 การนำความรู้ไปใช้จนเกิดความคิดรวบยอด (Implementation : I) ขั้นที่ 4 การเรียนรู้ด้วยตนเองจนเกิดความรู้อย่างแท้จริง (Life-rally : L) และขั้นที่ 5 การประเมินตนเอง (Evaluation : E) องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผล ซึ่งผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (SMILE Model) ตามเกณฑ์ E1/E2 กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 77.72/77.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
    3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทักษะในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 และนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด
    4) ผลการประเมินผลและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และเห็นควรว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^