รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์เชิงกลยุทธ์
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและระดับการปฏิบัติการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ก่อนการพัฒนา 2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3. เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติในการบริหารโรงเรียน โดยใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์และ 5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยประชากรเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ ระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2562 จำนวน 4 กลุ่มได้แก่ 1) ครู โรงเรียน สาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ จำนวน 7 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู จำนวน 7 คน 3) ผู้ปกครอง จำนวน 60 คนและ 4) นักเรียน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสรุปผลการศึกษาเอกสาร แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 5 ชุด แบบบันทึกข้อมูลการประชาพิจารณ์ แบบบันทึกข้อมูล การสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ แบบบันทึกคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง
ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและระดับการปฏิบัติการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โรงเรียนมีทรัพยากร ครูและบุคลากร วัสดุอุปกรณ์และระบบเทคโนโลยีที่ยังไม่เพียงพอและเหมาะสม แต่จุดเด่นคือ ผู้ปกครองและชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับโรงเรียน ด้านกระบวนการ (Process) บริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนยังไม่มีระบบที่ชัดเจน อาทิ หลักสูตรสถานศึกษายังไม่ได้ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน กระบวนการจัดการเรียนรู้ยังไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ ด้านผลผลิต (Output) คุณภาพการจัดการศึกษายังต้องได้รับการพัฒนาทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและครูผู้สอน รวมถึงระบบการบริหารจัดการ อาคารสถานที่และการจัดการเรียนรู้ ด้านผลลัพธ์ (Outcome) การบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ ไม่สามารถพัฒนาครูได้ เนื่องจากครูมีทัศนคติเชิงลบในการพัฒนาด้านวิชาการ ครูส่วนใหญ่ไม่ต้องการไปอบรม เพื่อพัฒนาทักษะหรือความรู้เพิ่มเติม ผลการวิเคราะห์ระดับการปฏิบัติการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนก่อนการพัฒนา พบว่า ระดับการปฏิบัติ ก่อนการพัฒนา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ที่ได้สร้างขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลและการประเมินความเป็นไปได้ ดำเนินการโดยการประชาพิจารณ์ การสนทนากลุ่มและประเมินความเหมาะสม โดยผู้เชี่ยวชาญ จึงได้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน CIN – CR Model ที่ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 8 กลยุทธ์รอง 14 กิจกรรม
ผลการปฏิบัติในการบริหารโรงเรียน โดยใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พบว่า ผลการศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ โดยภาพรวมมีผลการพัฒนา ยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการกำหนดทิศทางขององค์กร โดยภาพรวมมีผลการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการกำหนดกลยุทธ์ โดยภาพรวมมีผลการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ โดยภาพรวมมีผลการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการควบคุมและประเมินผลรูปแบบ โดยภาพรวมมีผลการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพของนักเรียน จากการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พบว่า โดยภาพรวม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับสูงขึ้นทุกชั้น และเมื่อพิจารณาเป็นรายชั้น โดยเรียงตามชั้นที่มีการพัฒนาสูงคือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รองลงมาคือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามลำดับ ส่วนคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ จากการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีร้อยละของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับสูงขึ้นทุกประเด็น
ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยภาพรวม พบว่า นักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด