รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีโดยใช้กระบวนการวิถี
โรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน : นางนงลักษณ์ เกปัน
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีโดยใช้กระบวนการวิถีธรรม โรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ เป็นการประเมินผลโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณภาพการเสริมสร้างความเป็นคนดีโดยใช้กระบวนการวิถีธรรม ความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า ด้านความมีวินัย ความซื่อสัตย์ ความพอเพียงและจิตสาธารณะ ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในการดำเนินโครงการ
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 23 คน กลุ่มตัวอย่างประชากรครู จำนวน 6 คน ผู้ปกครอง จำนวน 20 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
เครื่องมือสำหรับใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับและได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.76 – 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู โดยประเมินใน 4 ประเด็น คือ ความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ ก่อนการดำเนินโครงการโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด (μ=4.86, σ= .16) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( x̄=4.63, S.D. = .25) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สรุปผลการประเมิน ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ค่าน้ำหนัก 15% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการตามความคิดเห็นของครูโดยประเมินใน 5 ประเด็น คือ ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ก่อนการดำเนินโครงการโดยภาพรวม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยรวม (μ=4.58, σ= .46) อยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการประเมินตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินพบว่าด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ค่าน้ำหนัก 15%ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยประเมินใน 4 ประเด็น คือ การวางแผน การดำเนินการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุง ประเมินระหว่างการดำเนินการ โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด (μ=4.78, σ=.38) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄=4.69, S.D.= .24) อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียน มีค่าเฉลี่ยรวมน้อยที่สุด( x̄=4.67, S.D. =.26 ) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สรุปผลการประเมิน ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ค่าน้ำหนัก 20% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยประเมินใน 4 ประเด็น ดังนี้
4.1 ระดับคุณภาพการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กระบวนการวิถีธรรมโรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน พบว่า ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด ( x̄=4.80 , S.D. = .12) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( x̄=4.70, S.D.= .13) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄=4.59, S.D. = .16) อยู่ในระดับมากที่สุด และครูมีค่าเฉลี่ยรวมน้อยที่สุด (μ=4.47, σ= .19) อยู่ในระดับมาก สรุปผลการประเมิน ตามประเด็นตัวชี้วัดค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่าด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กระบวนการวิถีธรรมโรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า ปีการศึกษา 2563 ค่าน้ำหนัก 15% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด พบว่าทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความมีวินัย ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความพอเพียงและจิตสาธารณะ โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด (μ=4.78, σ= .39) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ผู้ปกครอง ( x̄=4.75, S.D. = .36) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สรุปผลการประเมินตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมินพบว่าด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความเป็นคนดีของนักเรียน ด้านความมีวินัย ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความพอเพียงและจิตสาธารณะ โรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 ค่าน้ำหนัก 15% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดพบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ความพึงพอใจในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กระบวนการวิถีธรรมโรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด ( x̄=4.68, S.D. = .18) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄=4.67, S.D. = .12) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄= 4.63, S.D. = .17) อยู่ในระดับมากที่สุด และครูมีค่าเฉลี่ยรวมน้อยที่สุด (μ=4.62, σ= .25) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน สรุปผลการประเมิน ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินพบว่าด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กระบวนการวิถีธรรมโรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า ปีการศึกษา 2563 ค่าน้ำหนัก 10% ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด พบว่าทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1. ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีโดยใช้กระบวนการวิถีธรรม
โรงเรียนต่างๆ ควรจัดกิจกรรมให้ครอบคลุม 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมประจำวัน กิจกรรมปฏิบัติศาสนกิจประจำสัปดาห์ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา และกิจกรรมเสริมสร้างความเป็นคนดีที่บูรณาการในวิถีชีวิตประจำวัน
1.2 ควรดำเนินโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กระบวนการวิถีธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การประพฤติตนเป็นคนดีของสังคมอย่างยั่งยืน
1.3 ควรมีการขยายผลการดำเนินงานโครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
1.4 ควรสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียน ด้านความมีวินัย ความซื่อสัตย์ ความพอเพียงและจิตสาธารณะ โดยใช้กระบวนการวิถีธรรมโรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้าอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการที่มีลักษณะองค์รวมโดยประยุกต์ใช้รูปแบบ การประเมินซิปป์ (CIPP Model) และควรมีการประเมินโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
2.2 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเสริมสร้างความเป็นคนดี โดยใช้กระบวนการที่หลากหลายให้นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน บุคคลในครอบครัวและสมาชิกในชุมชน
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา