การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย Google Site
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย Google Site รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางพัชรินทร์ สวนใต้
หน่วยงาน โรงเรียนวัดป่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย Google Site เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดการ
เรียนการสอนที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ อย่างมีเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 3 2) พัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี 3 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาสื่อการเรียนรู้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน Google Site กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3/2 จำนวน 30 คน โรงเรียนวัดป่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ ผ่านเว็บ ด้วยโปรแกรม Google Site จำนวน 3 บทเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน Google Site สถิติที่ใชในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บน Google Site ในภาพรวมมี ค่าเฉลี่ย 3.86 อยู่ในระดับมาก การแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนต้อการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน Google Site ดังนี้ ด้านการประเมินคุณภาพนวัตกรรม โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับ คือ มีรูปแบบการใช้งานที่ง่ายและสะดวก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 การเลือกสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน Google Site มีความหลากหลายสอดคลองกับรายวิชาที่เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 มีความเข้าใจเนื้อหาในรายวิชาที่เรียน เพิ่มขึ้นจากการศึกษาผ่านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนGoogle Site มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ด้านการประเมินผลการใช้นวัตกรรม โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับ คือ เกิดความสะดวกในการเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลที่จะศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 มีแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สร้างความน่าสนใจแก่ผู้เรียน และ ได้รับองค์ความรู้เพิ่มขึ้นผ่านการเชื่อมโยงจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 ด้านการนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหา โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับ คือ นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงระบบข้อมูลได้สะดวก ทันยุคสมัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลา เท่าที่ต้องการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 เพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.83