LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ตามแนวหลัก

usericon

บทสรุปสำหรับผู้ประเมินโครงการ

ชื่อเรื่อง    การประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนา
พรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน    นายนัฐพงค์ หมีนหวัง ผู้อำนวยการโรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิง
อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี    
ปีที่ประเมิน     2563

    รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 โดยใช้แบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ประชากรในการศึกษา ประกอบด้วย ครู โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จำนวน 6 คน นักเรียน จำนวน 14 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 25 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้



ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563
    1.    คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28,  = .52) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 4 เพื่อให้นักเรียน ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ( = 4.62,  = .53) รองลงมาคือ ข้อที่ 2โครงการสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชน ( = 4.47, = .54) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ข้อที่ 9 โรงเรียนมีปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการชุมชน ( = 4.00,  = .58)
2.     ครู ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32,  = .65) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 4 งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่น ๆ ข้อที่ 9 การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ( = 4.67 ,  = .52) รองลงมา คือ ข้อที่ 8 การจัดชั้นเรียน การบูรณาการหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ เนื้อหา และกิจกรรมการเรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ (= 4.50 ,  = .51) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 3 งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ ( = 4.00,  = .89)
3.     ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.34,  = .48) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 15 มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ( = 4.70 ,  = .40) รองลงมา คือ ข้อที่ 11 จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักวางแผนการดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (= 4.69 ,  = .51) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 4 มีการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง( = 4.00,  = .61)
4.    ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563
    4.1 ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินผลผลิตด้านคุณภาพการจัดการศึกษาของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37,  = .48) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 1 โรงเรียนสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ ( = 4.86 ,  = .40) รองลงมา คือ ข้อที่ 17 ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (= 4.69 ,  = .51) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 10 นักเรียนรู้จักรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น( = 4.00,  = .58)
    4.2 ครูและผู้ปกครอง ประเมินผลผลิตด้านความสามารถของนักเรียนในการนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชนของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43,  = .50) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 7 ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ( = 4.82 ,  = .41) รองลงมา คือ ข้อที่ 19 มีความสามัคคีในหมู่คณะ (= 4.70 ,  = .49) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 4 มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวันของตนเอง ( = 4.15,  = .37)
        4.3 นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินความพึงพอใจโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41,  = .50) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 7 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม( = 4.78 ,  = .44) รองลงมา คือ ข้อที่ 10 นักเรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (= 4.67 ,  = .50) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 4 มีการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกรายวิชาที่จัดการเรียนการสอน และข้อที่ 4 มีการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกรายวิชาที่จัดการเรียนการสอน ( = 4.16, =.39)
    
ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
    1.1 การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรมี การวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
    1.2 โรงเรียนควรประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
    1.3 โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูบูรณาการ และสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

2. ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1    ควรมีการวิจัยหาประสิทธิภาพการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
2.2    ควรประเมินโครงการนี้ในทุก 2- 3 ปี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สอดคล้องกับ
สภาพกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เป็นแนวทางแก่โครงการอื่นๆ ต่อไป
2.3    ควรมีการประเมินโครงการอื่นๆของโรงเรียนโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์
และใช้การประเมินรูปแบบอื่นในโครงการย่อยระดับกลุ่มงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^