การประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา
2563
ผู้ประเมิน นางสาววัลลภา กุลโรจนสิริ
ปีที่ประเมิน 2563
ระยะเวลาประเมินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 9 เมษายน 2564
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 โดยใช้แบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 3) เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้าน สวนเทศ ปีการศึกษา 2563 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 5)ประชากรในการศึกษา ประกอบด้วย ครูโรงเรียนบ้านสวนเทศ จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียน จำนวน 29 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา และแบบบันทึกผลการประเมินการอ่านของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ในภาพรวมสรุปได้ดังนี้
1. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.03 , = .18 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 8 วัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมการอ่านสามารถพัฒนาศักยภาพการอ่านของนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.85 , = .38 )รองลงมาคือ ข้อที่ 10 โครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69 , = .48 ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ข้อที่ 18 ผู้ปกครอง ชุมชน สามารถช่วยเหลือ สนับสนุน ในการจัดโครงการส่งเสริมการอ่านได้ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.46 , = .49 )
2. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.01, = .21 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 13 มุมหนังสือ,ห้องสมุดมีความสะอาด สะดวกต่อการใช้งาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77 , = .44 ) รองลงมาคือ ข้อที่ 10 สภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีความร่มรื่น เหมาะสมแก่การอ่านหนังสือ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 , = .51) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ข้อที่ 8 งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริมการอ่านมีความเพียงพอ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.23, = .44)
3. ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง ประเมินกระบวนการ ของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46 , = .20 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 8 การจัดกิจกรรมเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ โครงการส่งเสริมการอ่าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83 , = .38 ) รองลงมาคือ ข้อที่ 15 ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมโครงการส่งเสริมการอ่านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75 , = .53 ) ซึ่งเท่ากับ ข้อที่ 20 ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลการดำเนินโครงการเสนอต่อผู้บริหาร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75 , = .53) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ข้อที่ 13 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 3.59 , = .55 )
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563
4.1 ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ประเมินผลผลิต ของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51 , = .14 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 1 กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ ส่งเสริมทักษะการอ่านให้แก่นักเรียนได้ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.89 , = .32 ) รองลงมาคือ ข้อที่ 7 กิจกรรมอ่านคำพื้นฐาน เป็นการส่งเสริมทักษะการอ่านของนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.82 , = .39 ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ข้อที่ 15 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.18 , = .14 )
4.2 ผลการประเมินการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียน บ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 พบว่า มีผลการประเมินการอ่านออกเสียง แยกเป็น 3 ระดับ โดยมีค่าเฉลี่ย ดังนี้ ระดับ ดีมาก ร้อยละ 66.67 ระดับดีร้อยละ 28.57 และระดับพอใช้ร้อยละ 4.76 ผลการประเมินการอ่านรู้เรื่อง แยกเป็น 3 ระดับ โดยมีค่าเฉลี่ย ดังนี้ ระดับดีมากร้อยละ 4.76 ระดับดีร้อยละ 57.15 และระดับพอใช้ร้อยละ 38.09
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียน บ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 โรงเรียน บ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 เปรียบเทียบกับเป้าหมาย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด โดยคะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เท่ากับ ( = 79.05) สูงกว่าเป้าหมายของโรงเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระพบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 82.23 ) รองลงมาคือกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ มีค่าเฉลี่ย ( = 82.17 ) และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( = 73.02 )
4.4 ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ประเมินความพึงพอใจ โครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนเทศ ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.50 , = .15 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 11 นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนเพิ่มขึ้น มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90 , = .31 ) รองลงมาคือ ข้อที่ 2 ความพร้อมของโรงเรียนในการดำเนินงานตามโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83 , = .38 ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ข้อที่ 3 การเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนและเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.24 , = .58 )
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินโครงการไปใช้
1.1 โรงเรียนต้องดำเนินการด้านการส่งเสริมการอ่าน อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ขยายผลไปสู่ผู้ปกครอง เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมการอ่านอย่างยั่งยืน
1.2 โรงเรียนควรมีการวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
1.3 โรงเรียนควรศึกษา แนวทางการส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ชนบท และอยู่ในเมือง แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการอ่านต่อไป
1.4 โรงเรียนควรศึกษาแนวทางการดำเนินโครงการส่งเสริมการอ่านที่ไม่ใช้งบประมาณ หรืองบประมาณน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ ในการสร้างแนวทางในการส่งเสริมการอ่าน กรณี ขาดงบประมาณต่อไป
1.5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน ให้โรงเรียนต่างๆได้ดำเนินการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ ตลอดจนสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการครั้งต่อไป
2.1 ควรนำข้อเสนอแนะแนวทางไปปฏิบัติและประเมินความสำเร็จตามเป้าหมายเพื่อนำผล การประเมินไปปรับปรุงแนวทางให้สมบูรณ์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.2 ควรมีการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ในรูปแบบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกตการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมในเชิงลึก
2.3 ควรมีการเปรียบเทียบกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมการอ่านได้ดีที่สุดในโรงเรียน
2.4 ควรมีการประเมินโครงการอื่น ๆ โดยเฉพาะโครงการสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีการดำเนินการในโรงเรียนทุกโครงการ