การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ TGT
โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์
The Development of Mathematics Learning Activities by Cooperative Learning using the Teams-Games-Tournament (TGT) technique together with using the practice on Measures of Central Value of M.6
Yang Talad Witthayakhan School Kalasin Province
จิรวดี ทวีโชติ1
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการ ทํางานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมกันรับผิดชอบงานในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้ เกิดเป็นความสําเร็จของกลุ่ม การวิจัยครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย
1. เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาด
วิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง
ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ประชากรเป้าหมายประชากรเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นนักเรียนที่ผู้วิจัยได้รับผิดชอบทำการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ครั้งนี้ มี 3 ชนิด 1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล
ที่สอนโดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ จำนวน 4 แผน 4 แบบฝึกทักษะ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล
3.แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ที่สอนโดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สูตรการหาประสิทธิภาพของกระบวนการและสูตรการหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์( / ) ดัชนีประสิทธิผล
ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.31/81.25 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ของนักเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.53
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โดยภาพรวมนักเรียนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
.
1ครู กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24
Abstract
The Development of Mathematics Learning Activities by Cooperative
Learning Using the Teams-Games-Tournament (TGT) technique together with using the practice on Measures of Central Value for M.6 Yang Talad Witthayakhan School Kalasin Province To encourage learners to learn by Work together Help each other And jointly responsible for the work in the group assigned to This was the success of the group. The purpose of this research is 1. To find the effectiveness of learning activities organized by Cooperative Learning Using the Teams-Games-Tournament (TGT) technique together with using the practice on Measures of Central Value for M.6 Yang Talad Witthayakhan School Kalasin Province to efficiency base on 80/80 2. to find the effectiveness index of the mathematics learning activities by Cooperative Learning Using the Teams-Games-Tournament (TGT) technique together with using the practice on Measures of Central Value for M.6 Yang Talad Witthayakhan School Kalasin Province and 3. to study the students' satisfaction with mathematics learning activities by Cooperative Learning Using the Teams-Games-Tournament (TGT) technique together with using the practice on Measures of Central Value for M.6 student. Target Population is M. 6/9 student of Yang Talad Witthayakhan School Kalasin Province who are taught by researcher during 1 semester of 2020 school year, totality 32 people.
There were 3 types of research instruments including 1. 4 lesson plans by Cooperative Learning Using the Teams-Games-Tournament (TGT) technique together with using the practice on Measures of Central Value for M.6 student 2. mathematics achievement tests about Measures of Central Value 3. satisfaction test. The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation, the performance and the effectiveness index.
The research findings were as follows:
1. The mathematics learning activities by Cooperative Learning Using the Teams-Games-Tournament (TGT) technique together with using the practice on Measures of Central Value for M.6 student was effective at 87.31/81.25 which was higher than the specified criteria 80/80.
2. The effectiveness index of the mathematics learning activities by Cooperative Learning Using the Teams-Games-Tournament (TGT) technique together with using the practice on Measures of Central Value for M.6 student was 0.53
3. Students' satisfaction levels with mathematics learning activities by Cooperative Learning Using the Teams-Games-Tournament (TGT) technique together with using the practice on Measures of Central Value for M.6 student at a high level
บทนำ
คณิตศาสตร์มีบทบาทสําคัญยิ่งต่อความสําเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจาก คณิตศาสตร์ ช่วยให้มนุษย์มีความริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถ วิเคราะห์ปัญหาหรือ สถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถนําไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษา
ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ
อันเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจําเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์
(สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ : 1)
แม้ว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสําคัญดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่จะเห็นว่าการเรียน การสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาในปัจจุบันไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควรพิจารณา ได้จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ซึ่งจัดโดยสถาบันทดสอบทาง การศึกษาแห่งชาติ (องค์การ มหาชน) หรือ สทศ. (2562) ซึ่งสามารถสรุปผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 ในระดับประเทศ โดยเรียงลําดับจากคะแนนสูงสุดไปต่ำสุด ได้ดังนี้ ภาษาไทย คะแนนเฉลี่ย 42.21 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คะแนนเฉลี่ย 35.70 จากคะแนน 100 คะแนนวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย 29.20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ย 29.20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน
คณิตศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย 25.41 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน
จากการประเมินคุณภาพการศึกษาดังที่กล่าวมาข้างต้น ทําให้ทราบว่าการจัดการเรียน การสอน คณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ยังไม่ประสบความสําเร็จนัก ซึ่งปัจจัยหนึ่งอาจเป็นวิธีการสอน เนื่องจากวิธีการสอนมีความสําคัญมาก ถ้าผู้สอนมีความรู้ในเนื้อหาวิชาเป็นอย่างดี แต่ไม่รู้จักวิธีการ สอน เทคนิคการสอน แล้วผู้เรียนจะไม่เข้าใจหรือไม่สามารถเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ (สุชาติ รัตนกุล อ้างถึงใน กุลยา เหมวัสดุกิจ, 2545) นอกจากนี้การที่ครูจะประสบผลสําเร็จในการสอนนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการสอนของครู ตัวครู โดยครูต้องเลือกวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา (อรพรรณ ตันบรรจง, 2533 : 31) ซึ่งเนื้อหาวิชา คณิตศาสตร์มีหลากหลาย เช่น พีชคณิต เลขคณิต ความน่าจะเป็น เรขาคณิต และสถิติก็เป็นส่วน หนึ่งในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการ ทํางานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมกันรับผิดชอบงานในกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้ เกิดเป็นความสําเร็จของกลุ่มสําหรับการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT (Teams - Games Tournaments ) เป็นการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมืออีกรูปแบบหนึ่ง ที่แบ่งผู้เรียนที่มีความ สามารถแตกต่างกัน คือ เก่ง ปานกลาง และอ่อน ออกเป็นกลุ่มเพื่อทํางานร่วมกัน กลุ่มละ 4-5 คน โดยกําหนดให้สมาชิกของกลุ่มได้แข่งขันกัน ในเกมการเรียนที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้แล้ว ทําการทดสอบ ความรู้ โดยการใช้
เกมการแข่งขัน นําคะแนนที่ได้จากการแข่งขันของสมาชิกแต่ละคนในลักษณะ การแข่งขันตัวต่อตัวกับทีมอื่นเอามา บวกเป็นคะแนนรวมของทีม ทีมที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะได้ รับรางวัล (สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา.
2558. : 65-69) แบบฝึกทักษะเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เรียนที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ ฝึกทักษะต่างๆ ให้มีความรู้มากขึ้น ได้ฝึกด้วยตนเองทําให้เกิดความมั่นใจที่จะเรียนรู้ ลักษณะของ แบบฝึกที่ดีจะต้องมีจุดประสงค์และคําสั่งที่ชัดเจน ถูกต้องตามหลักวิชา ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
ใช้เวลา ที่เหมาะสม มีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีรูปแบบที่ทันสมัย สามารถดึงดูดความสนใจของ ผู้เรียนให้เกิดความต้องการที่จะฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้ผู้เรียนทําแบบฝึกทักษะที่เหมาะสมกับความสามารถจะช่วยเสริมทักษะให้แก่ผู้เรียน และช่วยให้ครูมองเห็น จุดเด่นหรือปัญหาต่าง ๆ ของผู้เรียนได้ชัดเจน ซึ่งครูจะดําเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหานั้นได้ทัน ท่วงที และการจัดแบบฝึกทักษะเป็นรูปเล่ม
ทําให้สามารณก็บรักษาไว้ใช้เป็นแนวทางเพื่อทบทวน บทเรียนได้อีกด้วยจากการศึกษาปัญหาในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนยางตลาดวิทยาคารผู้ศึกษาค้นคว้าพบว่าการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านมาในชั้นเรียนปกติยังไม่ประสบผลสําเร็จเท่าที่ควร นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ มีปัญหาเนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมุ่งเน้นที่เนื้อหาและความจํามากกว่าทักษะกระบวนการที่นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่เหมาะสมขาดวิธีการสอนที่ถูกต้อง โดยครูใช้ความสามารถในการสอนเพียงคนเดียวในการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนกลุ่มใหญ่พร้อมด้วยวิธีการบรรยายให้นักเรียนฟังแล้วให้แบบฝึกหัดซึ่งในสภาพห้องเรียนที่ครูมีบทบาทมากเกินไปทําให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนน้อยไม่สามารถทําให้นักเรียนทั้งหมดเรียนรู้ได้ดีและพบว่าเนื้อหาที่มีปัญหามาก คือ เรื่องค่ากลางของข้อมูล อาจเป็นเพราะว่าเนื้อหาเรื่องค่ากลางของข้อมูล และมีสูตรค่อนข้างมาก สลับซับซ้อน ยากแก่การเข้าใจ ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์หลายเรื่อง เช่น ความเข้าใจด้านสัญลักษณ์ การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และ ทักษะในการคิดคํานวณ นอกจากนี้ ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดปัญหาคือ ลักษณะการเรียนของ นักเรียนที่แยกตัวเป็นอิสระเป็นการเรียนรู้รายบุคคล โดยให้นักเรียนนั่งเรียนคนเดียวในการพยายามแก้ โจทย์ปัญหาที่กําหนดให้ทําให้นักเรียนรู้สึกโดดเดี่ยวไม่มีความมั่นใจในการเรียนรู้ ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้ นักเรียนไม่ประสบผลสําเร็จในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ผู้วิจัยจึงสนใจการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรื่องค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บรรลุตามจุดหมายหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ รวมทั้งความพึงพอใจของนักเรียน และเพื่อเป็นแนวทางแก่ครูผู้สอน คณิตศาสตร์ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80
2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์
นิยามศัพท์เฉพาะ
1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ TGT หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่มที่จัดนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยที่คละกันตามความรู้ ความสามารถของ นักเรียน ทํางานร่วมกัน กลุ่มละประมาณ 4-6 คน โดยกําหนดให้สมาชิกของกลุ่มได้แข่งขันกันใน เกมที่คละผู้เรียนตามระดับความสามารถ เก่ง ปานกลาง อ่อน โดยสมาชิกภายในกลุ่มช่วยเหลือกันใน การเรียนรู้และทํากิจกรรมร่วมกันแล้วจึงแยกกลุ่มตามความสามารถไปทําการแข่งขันด้านความรู้เพื่อ สะสมคะแนนแล้วนํากลับมากลุ่มของตนเอง รวมคะแนนของแต่ละกลุ่ม หาค่าเฉลี่ย กลุ่มที่ได้คะแนน สูงสุดให้เป็นกลุ่มชนะเลิศในการแข่งขันและยังถือว่าเป็นกลุ่มที่ประสบผลสําเร็จในแต่ละบทเรียน ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็น 5 ขั้นตอน คือ
1.1) จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง-กลาง-อ่อน) กลุ่มละ 4-6 คน และเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา
1.2) สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา ได้รับเนื้อหาสาระและศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน
1.3) สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายกันเป็นตัวแทนกลุ่มไปแข่งขันกับกลุ่มอื่นโดยจัด กลุ่มแข่งขันตามความสามารถ คือคนเก่งในกลุ่มบ้านของเราแต่ละกลุ่มไปรวมกัน คนอ่อนก็ไปรวมกับ คนอ่อนของกลุ่มอื่น กลุ่มใหม่ที่รวมกันนี้เรียกว่ากลุ่มแข่งขัน กําหนดให้มีสมาชิกกลุ่มละ 6 คน
1.4) สมาชิกในกลุ่มแข่งขัน เริ่มแข่งขันกัน
1.5) เมื่อแข่งขันเสร็จแล้ว สมาชิกกลุ่มกลับไปกลุ่มบ้านของเรา แล้วนําคะแนนที่แต่ละ คนได้รวมเป็นคะแนนของกลุ่ม
2) แบบฝึกทักษะ หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยพัฒนาทักษะในเรื่องที่เรียนรู้ให้มากขึ้น โดยอาศัยการฝึกฝนหรือปฏิบัติด้วยตนเองของผู้เรียน ลักษณะปัญหาในแบบฝึกทักษะจะเป็นปัญหาที่เสริมทักษะพื้นฐานโดยกำหนดขึ้นให้ผู้เรียนตอบเรียงลำดับจากง่ายไปยาก ปริมาณของปัญหาต้องเพียงพอที่สามารถตรวจสอบและพัฒนาทักษะ กระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่เรียนไปแล้ว เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา รวมทั้งในแบบฝึกทักษะจะทำให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความเข้าใจบทเรียนด้วยตนเองได้ เพื่อให้เกิดทักษะ เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความชำนาญในเนื้อหาที่ผู้เรียนได้เรียนไปในเรื่องนั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ หมายถึง การจัดกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะแบบกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือกันภายในกลุ่มโดยมีการนำเสนอเนื้อหาใหม่โดยครูผู้สอนและแบ่งกลุ่มผู้เรียนแบบคละความสามารถแต่ละกลุ่มให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันโดยมีเกมการแข่งขันเข้ามาเป็นกิจกรรมทบทวนความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนในการเรียนเนื้อหาใหม่ในแต่ละเรื่อง ครูเป็นผู้ให้คำแนะนำผู้เรียนในแต่ละกลุ่มที่ได้ทำการจัดแบ่งไว้และเตรียมแบบฝึกทักษะเพื่อวัดประเมินผลผู้เรียนทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการวางแผน การแก้ปัญหา และทบทวนความรู้ท้ายบทเรียนผู้เรียนจะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการเรียนในครั้งถัดไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมดังนี้
3.1) จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง-กลาง-อ่อน) กลุ่มละ 4-6 คน และเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา
3.2) สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา ได้รับเนื้อหาสาระและศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน
3.3) สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายกันเป็นตัวแทนกลุ่มไปแข่งขันกับกลุ่มอื่นโดยจัด กลุ่มแข่งขันตามความสามารถ คือคนเก่งในกลุ่มบ้านของเราแต่ละกลุ่มไปรวมกัน คนอ่อนก็ไปรวมกับ คนอ่อนของกลุ่มอื่น กลุ่มใหม่ที่รวมกันนี้เรียกว่ากลุ่มแข่งขัน กําหนดให้มีสมาชิกกลุ่มละ 6 คน
3.4) สมาชิกในกลุ่มแข่งขัน เริ่มแข่งขันกัน
3.5) เมื่อแข่งขันเสร็จแล้ว สมาชิกกลุ่มกลับไปกลุ่มบ้านของเรา ช่วยกันทำแบบฝึกทักษะแล้วนําคะแนนที่แต่ละ คนได้รวมเป็นคะแนนของกลุ่ม
4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ความเข้าใจในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้ในบทเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคTGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ซึ่งวัดจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งวัดจากคะแนนการทำแบบทดสอบหลังเรียนซึ่งเป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ
5) ความพึงพอใจการเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล หมายถึง การแสดงออกของนักเรียนถึงความรู้สึกนึกชอบรู้สึกเห็นถึงประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการเพิ่มทักษะต่าง ๆทางคณิตศาสตร์ แสดงออกถึงการได้ถูกส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต และการปรับตัวในกลุ่มเพื่อนที่แตกต่าง การเข้าสู่สังคมและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง ค่ากลางของข้อมูล โดยใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคTGTร่วมกับแบบฝึกทักษะ ซึ่งวัดจากแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง ค่ากลางของข้อมูล โดยใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือร่วมกับแบบฝึกทักษะ
6) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TGT หมายถึง คุณภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์ ของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล โดยใช้การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กําหนด โดยพิจารณาจาก เกณฑ์ 80/80 ดังต่อไปนี้
80 ตัวแรก หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการ (Process) คำนวณจากร้อยละของคะแนนเฉลี่ย จากการทำแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบย่อย และสังเกตพฤติกรรม ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 4 แผน
80 ตัวหลัง หมายถึง ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (Product) คำนวนจากร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคน จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
7) ดัชนีประสิทธิผล หมายถึง ค่าที่แสดงอัตราการเรียนรู้ที่ก้าวหน้าขึ้นจากพื้นฐานที่มีความรู้เดิมอยู่แล้ว หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้คำนวณจากสูตร การหาค่า E.I. ที่ได้จาก อัตราส่วนของผลต่างระหว่างคะแนนรวมทดสอบหลังเรียน กับคะแนนรวมทดสอบก่อนเรียน ต่อ ผลต่างระหว่างผลรวมคะแนนเต็มของทุกคนกับคะแนนรวมทดสอบก่อนเรียน
วิธีการดำเนินการวิจัย
1) ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. ตัวแปรตาม
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- ความพึงพอใจ
2) ประชากรเป้าหมาย
ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9 โรงเรียนยางตลาด
วิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นนักเรียนที่ผู้วิจัยได้รับผิดชอบทำการสอนใน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
จำนวน 32 คน
3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ที่สอนโดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ จำนวน 4 แผน 4 แบบฝึกทักษะ
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน/หลังเรียน ชนิดปรนัย แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
3. แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ที่สอนโดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ
4) การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป โดยดําเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนที่ได้จากคะแนนพฤติกรรมการเรียน แบบฝึกทักษะ ประจําแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แผนและแบบทดสอบย่อย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ (E1/E2) 80/80 โดยใช้สูตรการหาค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (E1/E2)
3. วิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้สูตรการหาค่าดัชนี ประสิทธิผล (E.I)
4. ประเมินความพึงพอใจในการเรียนรู้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจ โดยใช้เกณฑ์การแปลความหมาย ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2553 : 120 -127)
ค่าเฉลี่ย ระดับความพึงพอใจ
4.51 - 5.00 มากที่สุด
3.51 – 4.50 มาก
2.51 – 3.50 ปานกลาง
1.51 - 2.50 น้อย
1.00 – 1.50 น้อยที่สุด
ผลการวิจัย
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.31/81.25 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ของนักเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของ ข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าเท่ากับ 0.53
ตารางที่ 1 คะแนนประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ
แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร
จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ (E1/E2) 80/80
ประสิทธิภาพ คะแนนเต็ม จำนวน
นักเรียน แผนการจัดการเรียนรู้
ร้อยละ
ประสิทธิภาพของกระบวนการ( )
116 32 101.28 2.45 87.31
ประสิทธิภาพของผลลัพธ์( )
30 32 24.38 2.09 81.25
สรุปผล 87.31/81.25
จากตารางที่ 1 พบว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) เท่ากับ 87.31 และ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( ) เท่ากับ 81.25 จะได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
ยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.31/81.25
สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้
ตารางที่ 2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ของนักเรียนจากการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมแบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร
คะแนนทดสอบ จำนวนนักเรียน คะแนนเต็ม ผลรวมคะแนน ดัชนีประสิทธิผล
( E.I. )
ก่อนเรียน 32 30 577 0.53
หลังเรียน 32 30 780
จากตารางที่ 2 พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ของนักเรียนจากการเรียนรู้ ด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมแบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร มีค่าเท่ากับ 0.53
แสดงว่านักเรียนที่เรียนรู้จากการจัดกิจกรรม
การการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมแบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร มีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 53
4.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมแบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร
- ด้านสาระการเรียนรู้โดยรวมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.40 อยู่ในระดับมาก
- ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนโดยรวมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.39 อยู่ใน ระดับมากที่สุด
- ด้านสื่อการเรียนรู้โดยรวมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.44 อยู่ใน ระดับมากที่สุด
- ด้านการวัดผลประเมินผลนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เท่ากับ 4.48 อยู่ในระดับมากที่สุด
โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ 4.43 คะแนน ดังนั้น นักเรียนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
สรุปและอภิปรายผล
1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพของกระบวนการของแผนการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามเกณฑ์โดยมีค่าประสิทธิภาพร้อยละ 87.31 ทั้งนี้เนื่องจาก การจัดทําแผนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ได้ผ่านขั้นตอนในการจัดทําอย่างมีระบบตามหลักการการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) แบบเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่ม ด้วยเกม (Team - Games - Tournament หรือ TGT) แล้วผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
ผ่านการทดลองปรับปรุงให้มีความ สมบูรณ์ก่อนนําไปใช้สอนจริง ทำให้ผู้เรียนทำกิจกรรมระหว่างเรียนได้อย่างมั่นใจ กล้าแสดงออก มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ทำให้การทำกิจกรรมระหว่างเรียนผู้เรียนมีคะแนนในการทำแบบฝึกหัดที่ดี ทำแบบทดสอบย่อยได้ดี และ มีพฤติกรรมในชั้นเรียนเป็นที่พอใจ ส่วนประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของแผนการจัดการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามเกณฑ์โดยมีค่าประสิทธิภาพร้อยละ 81.25 ทั้งนี้ การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเป็นการทดสอบที่อยู่ในช่วงหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรียบร้อยแล้วนักเรียนมีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม การเรียนรู้ สามารถค้นหา สร้างความเข้าใจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสรุปความคิดของตัวเอง ได้ จึงทําให้เกิดพัฒนาการทางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งแสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ จารึก อาระหัง (2555 : 61-74) ที่ได้ศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เมทริกซ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบ TGT และกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 77.59 /78.67 และ 76.92/78.40 ตามลําดับ และสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ธารา ภาพยนตร์ (2556 : 66-79) ได้ศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏดังนี้ แผนการจัดกิจกรรม