รายงานการประเมินโครงการเดินตามรอยพ่อสานต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ชื่อผู้ประเมิน : นางสุวนิต โสมจันทร์
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเดินตามรอยพ่อสานต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหัวปอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ สถานที่ สื่อและวัสดุอุปกรณ์ และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการเกี่ยวกับ การเตรียมการ การดำเนินการ การนิเทศกำกับติดตามการประเมินผล การสรุปและรายงานโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิต เกี่ยวกับผลผลิตการดำเนินงานโครงการ 11 กิจกรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหัวปอ อำเภอเชียรใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น จำนวน 85 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวน 48 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 4 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 18 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 18 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับตัวแทนครูและผู้บริหารโรงเรียน)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามฉบับที่ 1 ประเมินด้านบริบทและด้านปัจจัย (ประเมินก่อนดำเนินงานโครงการ) แบบสอบถามฉบับที่ 2 ประเมินด้านกระบวนการ (ประเมินระหว่างดำเนินงาน) แบบสอบถามฉบับที่ 3 ประเมินด้านผลผลิต (ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ) เกี่ยวกับผลการดำเนินงาน และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และแบบสอบถามฉบับที่ 4 ประเมินด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ)
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows 16.0 ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นทุกตัวชี้วัด และภาพรวมของโครงการดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ โดยการประเมิน 5 ตัวชี้วัด ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยพบว่าความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยประเมิน 5 ตัวชี้วัด ในภาพรวมโครงการมีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยพบว่า ด้านสถานที่มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ ด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ ด้านบุคลากรของสถานศึกษา และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ โดยประเมิน 5 ตัวชี้วัด ในภาพรวมโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยพบว่า ด้านการเตรียมการมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ การสรุปและรายงานผล การดำเนินการ การประเมินผล และการนิเทศกำกับติดตาม ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และด้านผลการดำเนินงานโครงการ ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละตัวชี้วัดพบว่า
4.1 ผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 11 กิจกรรม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยพบว่า กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ กิจกรรมออมทรัพย์ กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน กิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่ห้องเรียน การประหยัดพลังงาน การศึกษาดูงานเศรษฐกิจพอเพียง ปุ๋ยหมักชีวภาพ การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน กิจกรรมการเลี้ยงกบ และกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามลำดับ
4.2 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้านเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 5 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด โดยพบว่า ความพอประมาณมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม เงื่อนไขความรู้ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามลำดับ
4.3 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานกิจกรรมโครงการพบว่า โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด