การพัฒนารูปแบบกระบวนการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสต
(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน
สตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
ผู้วิจัย นางสุวิมล สีคง รองผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีนครสวรรค์
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562 - 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบกระบวนการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน สตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการงบประมาณและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารงบประมาณของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ขั้นตอนการวิจัยมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ในการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยผู้วิจัยได้ศึกษาหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วม กระบวนการงบประมาณซึ่งประกอบด้วย การจัดทำงบประมาณการอนุมัติงบประมาณ การบริหารงบประมาณและการประเมินผลงบประมาณ การมีส่วนร่วมในกระบวนการงบประมาณ รวมทั้งรายงานผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 การศึกษากระบวนการงบประมาณของสถานศึกษาที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหากระบวนการจัดทำและบริหารงบประมาณของสถานศึกษารวมทั้งการศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมและความต้องการมีส่วนร่วมของบุคลากรในกระบวนการงบประมาณ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปใช้เป็นองค์ประกอบในรูปแบบที่ผู้วิจัยจะพัฒนาขึ้น ขั้นที่ 3 การจัดทำร่างรูปแบบกระบวนการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42ออกแบบกระบวนการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 โดยร่างและออกแบบส่วนประกอบโดยใช้ผลการศึกษาในขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 แล้วนำมาเรียบเรียงและนำเสนอเป็นร่างรูปแบบกระบวนการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ขั้นที่ 4 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบกระบวนการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบกระบวนการงบประมาณรวมทั้งการมีส่วนร่วมของบุคลากรในกระบวนการงบประมาณแต่ละขั้นตอนโดยผู้เชี่ยวชาญ ในโรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลรอบแรก จำนวน 4 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ จำนวน 4 คน หัวหน้ากลุ่มงานนโยบายและแผน จำนวน 4 คน ได้แก่ โรงเรียนนครสวรรค์ โรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ โรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ ขั้นที่ 5 การปรับปรุงร่างและนำเสนอรูปแบบกระบวนการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ปรับปรุงร่างรูปแบบกระบวนการงบประมาณของโรงเรียนที่บริหารงบประมาณงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ และหัวหน้ากลุ่มงานนโยบายและแผน ซึ่งเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลรอบแรก จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนนครสวรรค์ โรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ โรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการงบประมาณของโรงเรียนสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการงบประมาณของโรงเรียนที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการงบประมาณสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและความต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการงบประมาณของโรงเรียน 3) แบบวิเคราะห์เอกสารงบประมาณของโรงเรียนวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและบริหารงบประมาณของโรงเรียนเป็นการศึกษาข้อมูลยืนยันกับข้อมูลจากแบบสอบถามสำหรับเอกสารของโรงเรียนที่จะนำมาวิเคราะห์ตามแบบวิเคราะห์ที่สร้างขึ้นมีดังนี้ เอกสารงบประมาณของโรงเรียน เอกสารแผนกลยุทธ์ เอกสารแผนปฏิบัติการประจำปี เอกสารบันทึกการประชุมพิจารณางบประมาณของโรงเรียน หนังสือแจ้งจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แบบรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณของโรงเรียน หนังสือคำสั่งต่างๆที่เกี่ยวกับงบประมาณของโรงเรียน 4) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบกระบวนการงบประมาณ เป็นแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติของรูปแบบกระบวนการงบประมาณที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัจจุบัน ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับกระบวนการงบประมาณและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารงบประมาณของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 มีการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ของโรงเรียนดังนี้
ขั้นการจัดทำงบประมาณ การกำหนดแนวทางจัดทำงบประมาณ การทบทวนแผนระยะยาว/การทบทวนแผนกลยุทธ์ การจัดทำแผนปฏิบัติการ การประมาณการรายรับ-รายจ่าย โรงเรียนดำเนินการอยู่ในระดับมากทุกรายการ ยกเว้น การกำหนดแนวทางจัดทำงบประมาณ อยู่ในระดับ มากที่สุด 2 รายการ คือ โรงเรียนมีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศในการวงแผนงานครบถ้วนและปัจจุบัน โรงเรียนกำหนดจุดเน้นและทิศทางในการจัดทำงบประมาณประจำปีชัดเจน และด้านการประมาณการรายรับ-รายจ่าย อยู่ในระดับมากที่สุด 3 รายการ คือ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการชัดเจน โรงเรียนใช้ข้อมูลจำนวนนักเรียนประมาณการรายรับและรายจ่าย และโรงเรียนจำแนกประเภทรายจ่ายเป็นประเภทต่างๆ เช่น หมวดรายจ่ายแผนงาน/โครงการ ฯลฯ
ขั้นการอนุมัติงบประมาณ การพิจารณางบประมาณ การจัดทำเอกสารงบประมาณ โรงเรียนดำเนินการอยู่ในระดับมากทุกรายการ ยกเว้น การจัดทำเอกสารงบประมาณ อยู่ในระดับมากที่สุด 1 รายการ คือ เอกสารงบประมาณของโรงเรียนได้แสดง แผนงาน/โครงการ รายรับรายจ่าย อย่างครบถ้วน
ขั้นการบริหารงบประมาณ การควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณ การเปลี่ยนแปลงงบประมาณงบประมาณ โรงเรียนดำเนินการอยู่ในระดับมากทุกรายการ ยกเว้น การควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณ อยู่ในระดับมากที่สุด 1 รายการ คือระบบการจัดซื้อจัดจ้างในปัจจุบันของโรงเรียนครอบคลุมสิ่งสำคัญต่อการจัดซื้อจัดจ้าง โรงเรียนมีระบบการอนุมัติ การตรวจสอบและกระบวนการบันทึกเพื่อควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นปัจจุบัน โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการ/บุคคลติดตามการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่ได้รับอนุมัติ ด้านการเปลี่ยนแปลงงบประมาณ ดำเนินการในระดับปานกลาง 1 รายการ คือ โรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายงบประมาณในแผนปฏิบัติการ
ขั้นการประเมินงบประมาณ การประเมินผล การรายงานผล โรงเรียนดำเนินการอยู่ในระดับมากทุกรายการ
สภาพการมีส่วนร่วมและความต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการงบประมาณของบุคลากร ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง ซึ่งสภาพการมีส่วนร่วมในกระบวนการงบประมาณของบุคลากร ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีเพียง 6 รายการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ 1) การกำหนดพันธกิจของโรงเรียน2) การกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการประจำปี 3) การประมาณการรายรับจากแหล่งต่างๆ ในการจัดทำงบประมาณประจำปีของโรงเรียน 4) การประชุมพิจารณารายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณของโรงเรียน 5) การกำหนดผู้รับผิดชอบในการควบคุมงบประมาณ 6) การจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณของโรงเรียน และ ความต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการงบประมาณส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีเพียง 5 รายการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ 1) การกำหนดพันธกิจของโรงเรียน 2) การประมาณการรายรับจากแหล่งต่างๆในการจัดทำงบประมาณประจำปีของโรงเรียน 3) การวิเคราะห์งบประมาณที่ใช้จ่ายในแต่ละโครงการ/กิจกรรม 4) การกำหนดผู้รับผิดชอบใน การควบคุมงบประมาณ 5) การรายงานผลข้อมูลรายรับ-รายจ่าย ของโรงเรียน
๒) ได้รูปแบบกระบวนการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic
Performance Based Budgeting : SPBB) แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การจัดทำงบประมาณ ขั้นที่ 2 การอนุมัติงบประมาณ ขั้นที่ 3 การบริหารงบประมาณ ขั้นที่ 4 การประเมินผลงบประมาณ ดังนี้ การบริหารจัดการนโยบายและแผนกลยุทธ์โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ [Satri Plans Model]
S -Strategy-(กลยุทธ์)
AAccepting-(การยอมรับ)
T-Team-(คณะทำงาน)
R-Resource Allocation-(การจัดสรรทรัพยากร)
I-Implementation-(การนำไปใช้)
P-Performance Evaluation-(ประเมินผลการดำเนินการ)
L-Learning Organization-(องค์กรแห่งการเรียนรู้)
A-Assurance-(ประกัน/รับรอง)
N-Network and Communication-(การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน)
S-Support -(การสนับสนุน การมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย)