รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรีย
ชื่อเรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่สะเป่ใต้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ผู้รายงาน เอนก ไชยโย
รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่สะเป่ใต้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้หลักทฤษฎีวงจรคุณภาพ(PDCA) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในด้านคุณภาพนักเรียน ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 36 คน และผู้ปกครองนักเรียนเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 36 คน รวมทั้งสิ้น 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) และแบบคำถามปลายเปิด มี 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถาม ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้หลักทฤษฎีวงจรคุณภาพ (PDCA) ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในด้านคุณภาพนักเรียน ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัย ซึ่งแบบสอบถามชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 และ 0.84 ตามลำดับ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( )และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สรุปผลการศึกษา พบว่า
1.ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียน บ้านแม่สะเป่ใต้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้หลักทฤษฎีวงจรคุณภาพ (PDCA)
โดยภาพรวมของการดำเนินงานทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการดำเนินงาน (Do) และ ด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนา (Action) รองลงมาได้แก่ ด้านการวางแผนการปฏิบัติ (Plan) และ ด้านการตรวจสอบประเมินผล (Check)
2.ความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่สะเป่ใต้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในด้านคุณภาพนักเรียน ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัย โดยภาพรวมขององค์ประกอบ ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการ และด้าน ปัจจัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน