LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

usericon

ชื่อผลงาน        รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข
        (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน        นางอรกัญญา แก้วปลอด
        ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2563

บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (D.L.Stufflebeam’ s CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน 4 ด้าน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 2) ระดับคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข 3) ระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข 4) ระดับคุณภาพการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน 5) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินโครงการ โดยศึกษาจาก กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 ทุกคน จำนวน 71 คน กลุ่มตัวอย่าง ครู จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 71 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการดำเนินโครงการ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข ฉบบที่ 6 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ฉบับที่ 7 แบบสอบด้านผลผลิตเกี่ยวกับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน และฉบับที่ 8 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินโครงการ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง.94-.97สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
สรุปผลการประเมิน
    1.     ผลการประเมินมาตรฐาน ผลการประเมินด้านบริบท หรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( = 3.89, S.D. = 0.18) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D. = 0.56) รองลงมาคือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ( = 4.07, S.D. = 0.28) ส่วนตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.89, S.D. = 0.18) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
    2.     ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D. = 0.17) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
        เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.28, S.D. = 0.44) รองลงมาคือ ความพอเพียงของงบประมาณ ( = 4.26, S.D. = 0.37) ส่วนตัวชี้วัดด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.16, S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
    3.     ผลประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = 0.09) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.13) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.17) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.40, S.D. = 0.25) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน




    4.     ด้านผลิตของโครงการ จำแนกเป็น
    4.1     ระดับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. =0.04) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. =0.04) รองลงมาคือ กลุ่ม ครู อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69,S.D. = 0.07) ส่วนกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67,S.D. = 0.0.06,0.05)
    4.2     ผลการประเมินคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. =0.17) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. =0.18) รองลงมาคือ ผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52,S.D. = 0.59) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.47 ,S.D. = 0.17) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.3    ผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. =0.15) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
        เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.65, S.D. =0.17) รองลงมาคือ นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63,S.D. = 0.15)
        4.4    ผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64,S.D. = 0.15) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. =0.17) รองลงมาคือ นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63,S.D. = 0.15)
4.5    สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนิน โครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. =0.12) รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน และครู อยู่ในระดับมาก ( = 4.43,S.D. = 0.12,0.10) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก เช่นกัน ( = 4.42,S.D. = 0.11)

ข้อเสนอแนะ
    1.    ข้อเสนอเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1    โรงเรียนควรจัดโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของผู้เรียน
1.2    ควรยกย่อง เชิดชูเกียรติและเผยแพร่ผลงานที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 แก่บุคลากรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิดพลังในการทำงานเพิ่มขึ้น    
2.    ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1    ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ในรูปแบบวิธีการอื่นที่นอกเหนือจากรูปแบบ ซิปป์ หรือ (CIPP Model)
2.2    ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีส่งผลต่อพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) เพื่อใช้เป็นสารสนเทศในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.3    ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^