การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษแบบเทียบเสียงพยัญชนะและสระ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนท่าจีนอุดมวิทยา
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การอ่านเป็นการทำงานร่วมกันของประสาทรับรู้ทางสายตาและขบวนการการจัดการข้อมูลในสมอง โดยเริ่มด้วยสัญญาณภาพผ่านไปที่ตาแล้วเกิดการบันทึกการรับรู้ จากนั้นก็ไปเก็บอยู่ในความจำระยะสั้น และความจำระยะยาว การอ่านในลักษณะของการสะกดคำจะเป็นการทำงานของสมองซีกซ้าย ซึ่งจะเป็นการทำงานในลักษณะของการวิเคราะห์แบบอนุกรม ส่วนการอ่านแบบอ่านรูปคำ จะเป็นการทำงานของสมองซีกขวา ซึ่งจะมีการทำงานแบบขนาน คือ มีลักษณะแบบโดยรวม จะเห็นได้ว่าการอ่านถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของการสอนภาษา ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมหรือวุฒิภาวะถึงขั้นหรือถึงระดับที่สมควรแล้ว การเรียนการอ่านก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยากนัก
จากการที่ได้สอนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ได้พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะการอ่านออกเสียงอ่านคำศัพท์ง่ายๆไม่ได้ ดังนั้นจึงเห็นควรนำนักเรียนที่ยังขาดทักษะนี้ทั้งระดับชั้นมาทำการวิจัยในชั้นเรียน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษดีขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีและรักการอ่านภาษาอังกฤษ
3. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือในการฝึกทักษะการอ่าน
สมมติฐานของการวิจัย
คะแนนทดสอบการอ่านของนักเรียนหลังการทดลองมีคะแนนสูงกว่าการอ่านของนักเรียนก่อนการทดลอง
ขอบเขตการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 256๓ ของโรงเรียนท่าจีนอุดมวิทยา จังหวัดสงขลา
เนื้อหาและรูปแบบ
ใช้สอนเพื่อฝึกทักษะการอ่านได้ใช้บัตรคำศัพท์
ระยะเวลา
เดือนกรกฎาคม - เดือนพฤศจิกายน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 256๓
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้รู้ประสิทธิภาพของการฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งผลต่อการพัฒนาการอ่านอย่างต่อเนื่อง
2. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนในการฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษให้กับนักเรียน
3. เป็นแนวทางในการค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับการฝึกทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนต่อไป
วิธีดำเนินการวิจัย
1. สร้างใบความรู้ในการเทียบเสียงพยัญชนะและสระ
2. นักเรียนและครูร่วมกันบอกพยัญชนะและสระภาษาอังกฤษเมื่อเทียบกับภาษาไทย
3. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะการเทียบเสียงภาษาอังกฤษกับภาษาไทย
4. นักเรียนฝึกอ่านและเขียนคำศัพท์ที่มีการเทียบเสียงภาษาอังกฤษกับภาษาไทย
5. ทดสอบนักเรียนด้วยการออกเสียงให้นักเรียนหาคำศัพท์ที่ถูกต้อง และบันทึกผลเพื่อดูความก้าวหน้า
6. สรุปผลการอ่านคำศัพท์โดยใช้บัตรคำศัพท์ และพฤติกรรมในการทำงาน
ผลการวิจัย
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ซึ่งพบว่าในนักเรียนมีสามารถอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. วิธีการนี้เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถพิจารณานำไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการด้านการอ่านของเด็ก เนื่องจากในการฝึกทักษะการอ่านเด็กจะเกิดความพร้อมในด้านต่างๆ คือ ร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญาพร้อมๆ กันไป
2. สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือชนิดอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่าน เช่น หนังสือพิมพ์ วีดีโอ สื่อมัลติมีเดีย ซึ่งจะมี
ภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ เป็นการเพิ่มความน่าสนใจในการอ่าน