รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิ
ผู้วิจัย รศิตา รัตนโชติมาศ
สถานศึกษา โรงเรียนวัดสนามช้าง (ประดิษฐ์ราษฎร์รังสรรค์) จังหวัดฉะเชิงเทรา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ RASITA MODEL โรงเรียนวัดสนามช้าง (ประดิษฐ์ราษฎร์รังสรรค์) จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ RASITA MODEL โรงเรียนวัดสนามช้าง (ประดิษฐ์ราษฎร์รังสรรค์) จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ RASITA MODEL โรงเรียนวัดสนามช้าง (ประดิษฐ์ราษฎร์รังสรรค์) จังหวัดฉะเชิงเทรา 4) เพื่อศึกษาผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ RASITA MODEL โรงเรียนวัดสนามช้าง (ประดิษฐ์ราษฎร์รังสรรค์) จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน 5 คน บุคลากรทางการศึกษา 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 8 คน (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน) คณะกรรมการที่ปรึกษา 9 คน นักเรียน 41 คน ผู้ปกครอง 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ 2) แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบตรวจสอบ 1 ฉบับ 4) แบบประเมิน 1 ฉบับ 5)การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าความเที่ยงตรง การหาค่าความเชื่อมั่น
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษา สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ RASITA MODEL โรงเรียนวัดสนามช้าง (ประดิษฐ์ราษฎร์รังสรรค์) จังหวัดฉะเชิงเทรา สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ทุกด้าน ส่วนด้านปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ทุกด้าน และความต้องการ อยู่ในระดับมากที่สุด 6 ด้าน ระดับมาก 6 ด้าน
2. ผลการพัฒนา รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ RASITA MODEL โรงเรียนวัดสนามช้าง (ประดิษฐ์ราษฎร์รังสรรค์) จังหวัดฉะเชิงเทรา มีการบริหารตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง ได้แก่ 1) ความพอประมาณ 2) ความมีเหตุผล 3) การมีภูมิคุ้มกัน และ 2 เงื่อนไข ได้แก่1) ความรู้ 2) คุณธรรม ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ใช้ทรัพยากรดำเนินการอย่างมีเหตุผล รักษาวัฒนธรรมของโรงเรียน มีการเตรียมความพร้อมในการวางแผนการบริหารงาน กำหนดเป้าหมายการบริหารที่คำนึงถึงความเหมาะสมในการบริหาร ส่วนการบริหารตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวคิดของแมคคินซีย์ (McKinsey) สถานศึกษามีการบริหารตามขอบข่ายการบริหาร 7 ประการคือ 1) โครงสร้างองค์การ (Structure) 2) กลยุทธ์องค์การ (Strategy) 3) ระบบการปฏิบัติงาน (Systems) 4) บุคลากร (Staff) 5) ทักษะ (Skills) 6) แบบการบริหาร (Style) และ 7) ค่านิยมร่วม (Shared values) โดยมีความสัมพันธ์กันทั้ง 7 ด้าน
3. ผลการศึกษา การทดลองการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ RASITA MODEL โรงเรียนวัดสนามช้าง (ประดิษฐ์ราษฎร์รังสรรค์) จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้แนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.45 และใช้ตามแนวคิดของแมคคินซีย์ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.38
4. ผลการศึกษา การประเมินความพึงพอใจรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ RASITA MODEL โรงเรียนวัดสนามช้าง (ประดิษฐ์ราษฎร์รังสรรค์) จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้แนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.50 และใช้ตามแนวคิดของแมคคินซีย์ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.48