การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนบ้านแม่สะเป่ใต้ สังก
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนบ้านแม่สะเป่ใต้
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1
ผู้วิจัย เอนก ไชยโย
ปีที่ทำการศึกษา 2555-2556
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนบ้านแม่สะเป่ใต้ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ขั้นที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนบ้านแม่สะเป่ใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ขั้นที่ 3 การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน บ้านแม่สะเป่ใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ขั้นที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนบ้านแม่สะเป่ใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน 2) ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่สะเป่ใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 80 คนและ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการความรู้ในโรงเรียน จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า
1.รูปแบบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนบ้านแม่สะเป่ใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 มี 6 ขั้นตอน 25 กิจกรรม คือ ขั้นตอนที่ 1 การนิเทศการเรียนการสอน มี 5 กิจกรรม ขั้นตอนที่ 2 การวัดผล ประเมินผลการเรียนการสอน มี 5 กิจกรรม ขั้นตอนที่ 3 หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร มี 5 กิจกรรม ขั้นตอนที่ 4 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มี 4 กิจกรรม ขั้นตอนที่ 5 การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มี 3 กิจกรรม และขั้นตอนที่ 6 การประกันคุณภาพการศึกษา มี 3 กิจกรรม
2.รูปแบบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนบ้านแม่สะเป่ใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 มีความถูกต้องเหมาะสมและเป็นไปได้ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวคิดและทฤษฎีของการวิจัย