กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุที่หลากหลายประกอบการใช้คำถามกระตุ้น
รายงานการศึกษาในครั้งนี้ผู้รายงานมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพ ของกิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุที่หลากหลายประกอบการใช้คำถามกระตุ้น เพื่อพัฒนาพฤติกรรม ทางด้านสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมก่อนและหลังโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุที่หลากหลาย ประกอบการใช้คำถามกระตุ้นของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง 3) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง ที่มีต่อโดยใช้กิจกรรม สร้างสรรค์จากวัสดุที่หลากหลายประกอบการใช้คำถามกระตุ้น กลุ่มตัวอย่าง โดยการเลือกแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) ที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรม สร้างสรรค์จากวัสดุที่หลากหลายประกอบการใช้คำถามกระตุ้น เพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางด้านสังคม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 จำนวน 24 แผน 2. คู่มือโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุที่ หลากหลายประกอบการใช้คำถามกระตุ้น เพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางด้านสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 3/3 จำนวน 24 กิจกรรม 3. แบบประเมินพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 1 ฉบับ รวม 24 ข้อ 4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 ที่มีต่อการ จัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุที่หลากหลายประกอบการใช้ค าถามกระตุ้น จ านวน 4 ข้อ การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ( X-bar )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. หาค่า ประสิทธิภาพเครื่องมือ IOC และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่า “ที” (T-test ) พบว่าได้ผลดังนี้ 1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุที่หลากหลายประกอบการใช้ ค าถามกระตุ้น เพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางด้านสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 โรงเรียน บ้านอัยเยอร์เวง ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยมีคะแนนประสิทธิภาพกระบวนการ E1 คิดเป็น ร้อยละ 83.09 ประสิทธิภาพผลลัพธ์ E2 คิดเป็นร้อยละ 85.96 ตามลำดับ 83.09/85.96 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนด 2. เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมก่อนและหลังโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุ ที่หลากหลายประกอบการใช้คำถามกระตุ้นของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง โดยมีคะแนนโดยรวมก่อนการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม เฉลี่ย X-bar เท่ากับ 14.63 ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน S.D. เท่ากับ 2.06 หรือ ร้อยละ 60.96 และ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เฉลี่ย X-bar เท่ากับ 20.63 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 2.26 หรือ ร้อยละ 85.96 ตามลำดับ และเมื่อ เปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อน เรียน 6.00 คะแนน t – test เท่ากับ 12.567 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์จาก วัสดุที่หลากหลายประกอบการใช้คำถามกระตุ้น พบว่า มีค่าเฉลี่ย X-bar เท่ากับ 2.79 และมีค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.41 อยู่ในระดับพอใจมาก สรุปได้ว่า กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุที่หลากหลายประกอบการใช้คำถามกระตุ้น เพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางด้านสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับนักเรียนชั้น อนุบาลปีที่ 3/3 สามารถน าไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการทักษะทางด้านสังคมได้เป็นอย่างดี