LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

เผยแพร่ผลงาน

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”โรงเรียนบ้านเกาะจัน จังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2561-2562
ชื่อผู้วิจัย : นายอะห์หมัด สาและ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเกาะจัน
ปีการศึกษา : 2561 – 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โรงเรียนบ้านเกาะจัน จังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2561-2562 2) ศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านเกาะจัน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 3) ศึกษาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านเกาะจัน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 ดังนี้ 3.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 3.2 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3.3 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐาน (O-NET) 3.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โรงเรียนบ้านเกาะจัน จังหวัดปัตตานี หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2561
กลุ่มป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4-6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 83 คน และปีการศึกษา 2562 จำนวน 79 คน ประชากรครู ปีการศึกษา 2561 และ 2562 จำนวน 17 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4-6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 83 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 79 คน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 7 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 4 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.98 – 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เกิดจากการใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โรงเรียนบ้านเกาะจัน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมี คุณภาพอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มี มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เกิดจากการใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โรงเรียนบ้านเกาะจัน ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดสอดคล้องตามสมมติฐาน

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะจัน ภายหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ครอบคลุม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะจัน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 – 2562 ปีการศึกษา 2561 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 71.90 ปีการศึกษา 2562 มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึ้น มีคะแนนรวมเฉลี่ย 79.24 โดยมีค่าพัฒนา 7.34 สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.2 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 61.01 ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 47.32 แสดงให้เห็นว่าปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า ปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 13.69 ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน
3.3 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 34.57 ปีการศึกษา 2562 โดยมีค่าเฉลี่ย 29.32 แสดงให้เห็นว่าปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 5.25 ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน
3.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 พบว่า ปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 84.56 ปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 91.30 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
3.5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่า ปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 94.21 ปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 96.02 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
4. ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โรงเรียนบ้านเกาะจัน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพทั้ง 4 กลุ่ม ที่ประเมิน
มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 หลังการพัฒนาโดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่ม ที่ประเมิน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้
สถานศึกษาควรนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 กลยุทธ์แม่แบบ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ไปประยุกต์ใช้และกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ดังนี้
1) เข้าใจ (Understanding) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ
1.1 การใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
1.2 ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์
1.3 การวิเคราะห์
1.4 การทดลองจนได้ผล
2) เข้าถึง (Connecting) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ
2.1 ระเบิดจากข้างใน (Inside-out blasting)
2.2 เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (Understand Target)
2.3 สร้างปัญญา (Educate)
3) พัฒนา แนวทางพระราชดำริในการพัฒนานั้นเมื่องทรงเข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงพัฒนานั้นทรงมีหลักการสำคัญคือ
3.1 เริ่มต้นด้วยตนเอง (Self-Initiated)
3.2 พึ่งตนเอง (Self-reliance)
3.3 ต้นแบบเผยแพร่ความรู้ (Prototype and role model)
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2.2 ควรศึกษารูปแบบหรือกลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนหรือการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในลักษณะอื่น





ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^