เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
โดยใช้กลยุทธ์ Kohchan Family โรงเรียนบ้านเกาะจัน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ปีการศึกษา 2561 – 2562
ชื่อผู้รายงาน นายอะห์หมัด สาและ ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเกาะจัน
ระยะเวลาดำเนินการ ปีการศึกษา 2561 -2562
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ Kohchan Family โรงเรียนบ้านเกาะจัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ปีการศึกษา 2561 – 2562
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2) ประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4) ประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ 4.1) ระดับคุณภาพของการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4.2) การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4.3) ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะจัน 4.4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเกาะจัน และ 4.5) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาต่อ การดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้รูปแบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
การประเมินครั้งนี้ ศึกษาจากประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ทุกคนใช้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2561 จำนวน 107 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 92 คน ประชากรครู ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 17 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561และ2562 จำนวน 7 คน (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู) และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ทุกคน ได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2561 จำนวน 83 คน
ปีการศึกษา 2562 จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ มี 2 ลักษณะเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง 2 ฉบับ ได้แก่ แบบบันทึกผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริง และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ตามสภาพจริง เครื่องมือทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .867-.986 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง และการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใชโปรแกรมคอมสำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ Kohchan Family โรงเรียนบ้านเกาะจัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ปีการศึกษา 2561 - 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตาม กลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 4.36,
= 0.38) อยู่ในระดับมาก รองลงมาครูมีค่าเฉลี่ย ( =4.24, = 0.38) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2562 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยความคิดสูงสุด ( = 4.76,
S.D. = 0.38) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมากลุ่มครูมีค่าเฉลี่ย ( =4.68, = 0.38 ) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้
กลยุทธ์ Kohchan Family โรงเรียนบ้านเกาะจัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
ปีการศึกษา 2561 - 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาตามประเด็นตัวชี้วัด พบว่า
ปีการศึกษา 2561 ความพอเพียงของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.61, = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ผู้สนับสนุนโครงการ (=4.45, = 0.51) อยู่ในระดับมาก ส่วนความพอเพียงของวัสดุอุปกรณ์/อาคารสถานที่ (=4.35, = 0.48) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2562 ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.76, = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ผู้สนับสนุนโครงการ (=4.75, = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความพร้อมของบุคลากร (=4.67, = 0.48) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โดยใช้กลยุทธ์ Kohchan Family โรงเรียนบ้านเกาะจัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ปีการศึกษา 2561 - 2562 ตามคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 ครูมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 4.01, = 0.42) ) อยู่ในระดับมาก รองลงมานักเรียนมีค่าเฉลี่ย ( =4.00, = 0.33) อยู่ในระดับมาก ส่วนผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =3.93, = 0.39) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2562 ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 4.67, = 0.44) ) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาครูมีค่าเฉลี่ย ( =4.67, = 0.43) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.57, = 0.20) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ Kohchan Family โรงเรียนบ้านเกาะจัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ปีการศึกษา 2561 – 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า
ปีการศึกษา 2561 ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 4.14, S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมาก รองลงมานักเรียนมีค่าเฉลี่ย ( =4.12, S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมาก ส่วนครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.11, = 0.52) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2562 ครูมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 4.68, = 0.39) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ย ( =4.66, S.D. = 0.42) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
( = 4.66, S.D. = 0.42) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ Kohchan Family โรงเรียนบ้านเกาะจัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ปีการศึกษา 2561 – 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ทั้ง 4 กลุ่ม พบว่า
ปีการศึกษา 2561 นักเรียนมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 4.20, S.D. = 0.20) อยู่ในระดับมาก รองลงมาผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ย ( =4.19, S.D. = 0.37) อยู่ในระดับมาก ครูมีค่าเฉลี่ย ( =4.03, = 0.61)
อยู่ในระดับมาก อยู่ในระดับมาก ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.01,
S.D. = 0.61) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2562 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 4.76,
S.D. = 0.43) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาครูมีค่าเฉลี่ย ( =4.74, = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีค่าเฉลี่ย ( =4.63, S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.63, S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน
4.3 ผลการประเมินข้อมูลสภาพจริงตามโครงการเกี่ยวกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะจันสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 พบว่า
ปีการศึกษา 2561 ภาพรวม มีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 14 คิดเป็นร้อยละ 9.52 และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ พบว่า นักเรียนติดเกม มีจำนวนมากที่สุด จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 4.08 รองลงมา คือ ลักขโมย จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 3.40 ส่วนเป็นพฤติกรรมที่มีจำนวนนักเรียนน้อยที่สุด คือ นักเรียนออกกลางคัน สูบบุหรี่/สารเสพติด และคบเพื่อนต่างเพศ จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0.00
ปีการศึกษา 2562 ภาพรวม มีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 7 คิดเป็นร้อยละ 5.18 และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ พบว่า นักเรียนติดเกม มีจำนวนมากที่สุด จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2.96 รองลงมา คือ ลักขโมย จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.48 ส่วนเป็นพฤติกรรมที่มีจำนวนนักเรียนน้อยที่สุด คือ นักเรียนออกกลางคัน สูบบุหรี่/สารเสพติด และคบเพื่อนต่างเพศ จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0.00
สรุปผลจากข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง ปีการศึกษา 2561 – 2562 แสดงให้เห็นว่า จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ ลดลง 7 คน คิดเป็นร้อยละ 4.34 ตามเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละ 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพของนักเรียน โรงเรียน
บ้านเกาะจัน ปีการศึกษา 2561 – 2562 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป โรงเรียนบ้านเกาะจัน หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561 – 2562 พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์มีผล
การประเมินระดับดีขึ้นไป หลังการพัฒนา ทั้งสองปีการศึกษามีค่าเฉลี่ยร้อยละมากกว่า 90 ทั้ง 8 ประการ
โดยปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา 2561 ทั้ง 8 ประการ และเมื่อพิจารณาค่าพัฒนา พบว่า คุณลักษณะฯ ใฝ่เรียนรู้ มีค่าพัฒนาสูงสุด + 3.31 รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะฯ รักความเป็นไทย
+ 3.11 ส่วนคุณลักษณะรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีค่าพัฒนาต่ำสุด
4.5 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ Kohchan Family โรงเรียนบ้านเกาะจัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ปีการศึกษา 2561 – 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 ครูมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 4.33, = 0.50) อยู่ในระดับมาก รองลงมานักเรียนมีค่าเฉลี่ย ( =4.29, S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมาก ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.13, S.D. = 0.67) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2562 ครู มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 4.68, = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย ( =4.66, S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.61, S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อการนำข้อมูลนักเรียนมาใช้ในการคัดกรองนักเรียน และการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนจึงควรดำเนินกิจกรรมนี้ต่อไป ทั้งนี้เป็นการสนองต่อนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย
1.2 โรงเรียนควรเพิ่มระยะเวลาในการเยี่ยมบ้านให้มากขึ้น เพื่อจะได้พบปะกับบิดา มารดา ผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลนักเรียนมากขึ้น
1.3 ผู้บริหารโรงเรียนควรสนับสนุนสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูที่ดูแลนักเรียน เช่น นักเรียนได้รับรางวัลคุณธรรมดีเด่นจากการแข่งขัน หรือได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ และชื่นชมยกย่องนักเรียนที่มีความประพฤติดีมีคุณธรรม อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้งต่อภาคเรียน
1.4 การประเมินโครงการในครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งเป็นรูปแบบการประเมินที่ครอบคลุมปัจจัยในการบริหารโครงการและสอดคล้องกับการประเมินทางการศึกษา สามารถนำรูปแบบการประเมินดังกล่าวนี้ไปใช้ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนหรือโครงการอื่นๆได้
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างละเอียดในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของโครงการ
2.2 ควรใช้วิธีการและเครื่องมือในการประเมินอย่างหลากหลายเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองจากการประชุมผู้ปกครองนักเรียน เป็นต้น