การประเมินโครงการส่งเสริมการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการ
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการส่งเสริมการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model : กรณี
ศึกษาโรงเรียนห้วยแก้ววิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
ผู้รายงาน : นายสมคิด นาคกุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนห้วยแก้ววิทยา
ปีการศึกษา : 2563
การประเมินโครงการส่งเสริมการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model : กรณีศึกษาโรงเรียนห้วยแก้ววิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation)
3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 4) เพื่อประเมินผลผลิต(Products Evaluation)
5) เพื่อประเมินผลกระทบ (Impact evaluation ) 6) เพื่อประเมินประสิทธิผล(Effectiveness evaluation) 7)เพื่อประเมินความยั่งยืน (Sustainability evaluation) 8)เพื่อประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transportability evaluation ) ของโครงการส่งเสริมการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการโรงเรียนห้วยแก้ววิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และ 9) เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุง ส่งเสริมและพัฒนาโครงการส่งเสริมการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการโรงเรียนห้วยแก้ววิทยา เกี่ยวกับ ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) อันเกิดจากการส่งเสริมการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการในการส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันวิชาการในงานศิลปหัตถกรรมของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้รับรางวัลเหรียญทองระดับเขตพื้นที่และได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศ ซึ่งรางวัลที่ได้รับสูงสุดคือชนะเลิศเหรียญทองระดับประเทศ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นเวลา 3 ปี คือ ปีการศึกษา 2560-2562 ได้แก่ ประชากรปีการศึกษา 2560 ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน ผู้ปกครองชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 160 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 62 คน รวมจำนวน 249 คน ประชากรปีการศึกษา 2561 ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน ผู้ปกครองชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 163 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 64 คน รวมจำนวน 254 คน ประชากรปีการศึกษา 2562 ประกอบด้วย ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 19 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 158 คน นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 51 คน รวม จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 8 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ 1) ค่าความสอดคล้อง (IOC) ของข้อคำถามของแบบสอบถาม 2) หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม 3) ค่าเฉลี่ย (m) และ4) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model : กรณีศึกษาโรงเรียนห้วยแก้ววิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ทั้ง 8 ด้าน ในปีการศึกษา 2560-2562 เป็นเวลา 3 ปี มีข้อสรุปดังนี้
ผลการประเมินจำแนกตามหน่วยประชากร พบว่า ปีการศึกษา 2560 และ 2561 ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน มีผล การประเมินอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 ผู้ปกครองและนักเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ครูและบุคลากรทางการศึกษามีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินบริบท (Context Evaluation) พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมของปีการศึกษา 2560 อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2561 และ 2562 อยู่ ในระดับมากที่สุด คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมของปีการศึกษา 2560 ในอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2561 และ 2562 อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมของปีการศึกษา 2560 ถึง 2562 อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ปี แต่ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปีตามลำดับ
ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมของปีการศึกษา 2560 ถึง 2562 อยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกันทั้ง 3 ปี แต่ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปีตามลำดับ
ผลการประเมินผลผลิต (Products Evaluation) พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมของปีการศึกษา 2560 และ 2561 อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 ทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปีตามลำดับ
ผลการประเมินผลกระทบ (Impact evaluation ) พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมของปีการศึกษา 2560 ถึง 2562 อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ปี แต่ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปีตามลำดับ
ผลการประเมินประสิทธิผล (Effectiveness evaluation) พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมของ ปีการศึกษา 2560 และ 2561 อยู่ในระดับมาก ส่วนปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกหน่วยประชากร และค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปีตามลำดับ
ผลการประเมินความยั่งยืน (Sustainability evaluation ) พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมของปีการศึกษา 2560 และ 2561 อยู่ในระดับมาก ส่วนปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมากที่สุดทุกหน่วยประชากร และค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปีตามลำดับ
ผลการประเมินถ่ายโยงความรู้ (Transportability evaluation ) พบว่า ของครูและบุคลากร ทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมของปีการศึกษา 2560 อยู่ในระดับปานกลาง ปีการศึกษา 2561 และ 2562 อยู่ในระดับมาก ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมของปีการศึกษา 2560 และ ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับปานกลาง ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปีตามลำดับ