รายงานผล การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์
เรื่อง รายงานผล การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิตและส่วนประกอบของพืช
รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนชุมชนบ้านสะท้อน (วันครู 2503)
อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ผู้ค้นคว้า ชญานภัส กลั่นทอง
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิตและส่วนประกอบของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิตและส่วนประกอบของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิตและส่วนประกอบของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านสะท้อน (วันครู2503) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้อง มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิตและส่วนประกอบของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 ชุดกิจกรรม (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิตและส่วนประกอบของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิตและส่วนประกอบของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการสอนและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้เวลาทดลองสอนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 19 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิตและส่วนประกอบของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 83.21/80.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิตและส่วนประกอบของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละโดยเฉลี่ย เท่ากับ 29.33
3. ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิตและส่วนประกอบของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในระดับ “มากที่สุด”
โดยสรุปชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิตและส่วนประกอบของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนและช่วยให้พัฒนาให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น จึงควรสนับสนุนให้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและเผยแพร่ต่อไป