กระบวนการการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในการส่งเสริมการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดท่าดินแดง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
The process of community participation in
Resource mobilization Education Wadtadindang School.
อังศุธร การสมเนตร์.
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดท่าดินแดง
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพกระบวน การมีส่วน ร่วมของ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการส่งเสริมการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโรงเรียน
วัดท่าดินแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 2) ศึกษา
พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการส่งเสริมการระดม
ทรัพยากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดท่าดินแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พระนครศรีอยุธยา เขต 2 3) ศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการ
ส่งเสริมการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดท่าดินแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ตามรูปแบบการบริหาร PDCA กลุ่มผู้ศึกษา (Research
Participant) ประกอบด้วย ผู้ศึกษา (ผู้อำนวยการโรงเรียน) ครูและบุคลากรในโรงเรียนที่ร่วมศึกษา
จำนวน 8 คน รวม 9 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยบุคคลสำคัญ ดังนี้ 1) ผู้ศึกษา
(ผู้อำนวยการโรงเรียน) 2) ครูและบุคลากร จำนวน 8 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จำนวน 7 คน (ไม่นับรวม ผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้แทนครู) 4) ผู้ปกครองนักเรียนทุกคน จำนวน
77 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย สถิติที่ใช้ คือ
ความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลจากความคิดเห็นของการมีส่วนร่วมของชุมชน
ในการระดมการทรัพยากรทางการศึกษา กระบวนการ ตามรูปแบบการบริหาร PDCA เพิ่มเติม และประชุมกลุ่มย่อย นำผลมาสรุปเป็นความเรียง ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการส่งเสริม
การระดมทรัพยากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดท่าดินแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และพบปัญหาการดำเนินงาน
อยู่ 2 ประเด็น คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไม่มีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทาง
การศึกษา เช่น เงิน วัสดุ อุปกรณ์ และการระดมวิทยากรภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมสอนใน
สถานศึกษา
2. การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการ
ส่งเสริมการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดท่าดินแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 โดยใช้การประชุมอบรมให้ความรู้ ซึ่งทำให้คณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมมากขึ้น
3. การมีส่วนร่วมของของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการส่งเสริมการระดม
ทรัพยากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดท่าดินแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พระนครศรีอยุธยา เขต 2 โดยภาพรวมต้องการมีส่วนร่วมในส่งเสริมการระดมทรัพยากรทาง
การศึกษาในระดับมากที่สุด และมีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรทาง
การศึกษา ตามรูปแบบการบริหาร PDCA พบว่า
3.1 ด้านการวางแผน (Plan) ควรส่งเสริมให้โรงเรียนให้ความสำคัญกับการวาง
แผนการระดมทรัพยากร โดยกำหนดเป็นนโยบายหรือแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนในการ
ระดมทรัพยากรอย่างเป็นรูปธรรม ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึง
ความสำคัญกับการวางแผนการระดมทรัพยากรและเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการระดม
ทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 ด้านการปฏิบัติตามแผน (Do) ควรส่งเสริมให้มีการเพิ่มทักษะ เพิ่มศักยภาพของ
บุคลากรเกี่ยวกับการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียน และสรรหาบุคลากรให้เพียงพอใน
การปฏิบัติตามแผนในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา และมีการจัดทำเครือข่ายในการระดม
ทรัพยากรจากองค์กรต่างๆทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เช่น เครือข่ายรุ่นของศิษย์เก่า
เครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน เป็นต้น
3.3 ด้านการตรวจสอบและประเมินผล (Check) ควรส่งเสริมให้มีหน่วยงานเข้าไป
ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เปิดโอกาสให้ชุมชน ภาคเอกชน เข้ามีส่วนในการ
พัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนและภูมิทัศน์ และจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ในการจัดการเรียน
การสอน โดยงบประมาณของชุมชนเอง ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้ชุมชน ในรูปแบบคณะกรรมการการติดตามผลการดำเนินงาน เข้าร่วม
ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการใช้จ่าย และการดำเนินงาน งบประมาณเพื่อให้การใช้
งบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา
3.4 ด้านการปรับปรุงแก้ไข (Act) ควรส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนและ
ผู้เกี่ยวข้องให้ทราบถึงกิจกรรมการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ความขาดแคลนและความต้องการ
ของโรงเรียน เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการประชุมชี้แจง เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไข
ปัญหา และหาแนวทางพัฒนาการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรม
การระดมทรัพยากร จัดทำคู่มือการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา และรายงานผลการ
ดำเนินของสถานศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อแจ้งแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ