LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

เผยแพร่ผลงานวิจัย

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
        ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพ
        ตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
        เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน     อุษณา ป้อมลิขิตกุล
ปีการศึกษา    2563

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 25 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2563 โรงเรียนดงดาวแจ้งพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 แผน พร้อมชุดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 20 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test)

    ผลการวิจัยพบว่า
            1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล
            หลักการของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นนี้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียนเอง
            วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริม
การคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มุ่งเน้นเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาทักษะอาชีพโดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน    เนื้อหาของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความรู้ 2) ขั้นขยายความรู้ 3) ขั้นปรับสมดุลทางปัญญา 4) ขั้นพัฒนาโดยใช้การคิดสร้างสรรค์ และ 5) ขั้นการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
            การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และในระหว่างการดำเนินกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบ ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน ใช้แบบประเมินโครงงาน การสังเกตการณ์แสดงออกเป็นรายบุคคล การนำเสนอผลงาน เพื่อประเมินการเกิดหรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางปัญญา แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น
             2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 9.89 และ 26.54 คะแนน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนสอบของผู้เรียน หลังเรียนพบว่า คะแนนสอบของผู้เรียน หลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    
         3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ตามเกณฑ์ของ บุญชม ศรีสะอาด (2545) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30 โดยที่รายการที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ ข้อ 6 รูปแบบการเรียนการสอนนี้สามารถทำให้นักเรียน คิดริเริ่มสิ่งแปลกใหม่ได้ และข้อ 13 รูปแบบการเรียนการสอนนี้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
( = 4.64, S.D. = 0.49) รองลงมาคือ ข้อ 12 กิจกรรมการเรียนการสอนสามารถศึกษาได้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ( = 4.61, S.D. = 0.50) และรายการที่มีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ข้อ 9 รูปแบบการเรียนการสอนนี้ทำให้กล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ( = 4.36, S.D. = 0.49)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^