LASTEST NEWS

30 พ.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการครู 7 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท และพนักงานธุรการ 1 อัตรา เงินเดือน 13,800.-บาท ระหว่างวันที่ 6 - 12 ธันวาคม 2567  30 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาแก้วประชารัฐ รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก (ยกเว้น ปฐมวัย) เงินเดือน 8,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 ธันวาคม 2567 30 พ.ย. 2567สพฐ. พร้อมเปิดพื้นที่โรงเรียน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ 30 พ.ย. 2567เปิดรายละเอียด! ปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ และปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลผกระทบของพนักงานราชการ (มติ ครม. 29 พ.ย.2567) 30 พ.ย. 2567สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 รับสมัครพนักงานราชการครู และพนักงานราชการพี่เลี้ยง ทั้งหมด 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-13 ธันวาคม 2567  30 พ.ย. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 3-11 ธันวาคม 2567 29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567

รายงานผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่

usericon

รายงานผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์
Report on the development of the small school in the big school administration model to develop desirable characteristics of discipline of mathayomsuksa 4 students of Buachedwittaya school in Surin provinc.
นายกิตติชัย แผ่นจันทร์
Mr.Gittichai Phanjun

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารงานแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ ที่พัฒนาขึ้น โดย 2.1) เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนการพัฒนากับหลังการพัฒนา 2.2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการบริหารงานแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ และระยะที่ 2 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารงานแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ ที่พัฒนาขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 108 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน นักเรียน จำนวน 269 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา ได้แก่ คู่มือรูปแบบการบริหารงานแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหาร 2.2) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียน และ 2.3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงาน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลังการใช้รูปแบบการบริหารงานแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ ที่พัฒนาขึ้น พบว่า
2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยหลังการพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจ พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ: รูปแบบการบริหารงาน โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ วินัยนักเรียน

Abstract
This research aims to 1) develop the model of the small school in the big school administration to develop desirable characteristics of discipline of mathayomsuksa 4 students of Buachedwittaya school, Surin provinc. 2) study the effectiveness of the model of the small school in the big school administration to develop desirable characteristics in discipline mathayomsuksa 4 students of Buachedwittaya, Surin Province, that developed by 2.1) comparing the desirable characteristics in discipline mathayomsuksa 4 students between pre-development and post-development 2.2) study the satisfaction of the model of the small school in the big school administration that the desirable characteristics in discipline of mathayomsuksa 4 students of Buachedwittaya, Surin Province. The research is divided into 2 phases as follows: Phase 1 create and develop the model of the small school in the big school administration to develop desirable characteristics of discipline of mathayomsuksa 4 students of Buachedwittaya school, Surin provinc. And phase 2 study the effectiveness of the model of the small school in the big school administration to develop dependent characteristics in discipline of mathayomsuksa 4 students of Buachedwittaya, Surin province. The research participants are 108 teachers, 13 the school boards, 269 students and 269 student’s parents. The instruments were as follows 1) the instruments used for the administration and development is the model managing text. 2) the instruments used for data collection were 2.1) the formulation suitability and feasibility assessment form of the administrative model. 2.2) the questionnaire of desirable characteristics in discipline of the students. and 2.3) the satisfaction questionnaire.The statistics used to analyze the data were percentage (%), mean (x-), standard deviation (S.D.) and t-test
The results of this research were as follows:
1. The results of appropriate and feasible for the administration model that has been developed that the consistency appropriate and feasible is the highest level.
2. After using the model of the Small school in the Big School administration to develop desirable characteristics in discipline mattayomsuksa 4 students of Buachedwittaya school, Surin province that has developed were found as following:
2.1 MathayomSuksa 4 students had developed higher desirable characteristics in discipline than before significant at level .01
2.2 The results of the satisfaction study showed that the stakeholders were the school boards, teachers, students and student’s parents satisfaction with the model of the small school in the big school administration to develop the desirable character of student discipline mathayomsuksa 4 students of Buachedwittaya, Surin province overall is at the high level.
Keywords: administration model, the small school in the big school, student Discipline.
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^