การพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออโดยใช้สีและแผนผังรูปภาพ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายสุรพงศ์ เจริญทรัพย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
โรงเรียน/หน่วยงาน โรงเรียนวัดล้านตอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1
1. ความสำคัญและความเป็นมา
การเรียนการสอนทักษะด้านดนตรีไทยที่เป็นภูมิปัญญาของครูในอดีตใช้หลักการสำคัญคือ 4 ประการ คือ ฟัง คิด ทำตามอย่างครู และทำซ้ำจนชำนาญ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการทักษะด้านต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างแนบเนียน ต่อมาเมื่อมีโน้ตเพลงซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่อย่างดนตรีตะวันตกเกิดขึ้นและนามาใช้ในการเรียนการสอนดนตรีไทยในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ทาให้นักเรียนเข้าถึงเพลงไทยมากขึ้นและเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาดนตรีต่อไปในอนาคต แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผลเสียต่อผู้เรียนดนตรีไทยในระดับพื้นฐาน คือ หากยึดติดกับโน้ตและเอาใจใส่กับการอ่านโน้ตมากเกินไปจะทาให้ผู้เรียนขาดทักษะการฟัง ขาดทักษะการคิด เนื่องจากยึดติดกับภาพของตัวโน้ตที่เป็นอักษร ด ร ม ฟ ซ ล ท ด มากกว่าการจดจาระดับเสียงสูง-ต่ำ อีกทั้งยังมิได้จาตำแหน่งรูปแบบ การใช้มือสาหรับบรรเลงเครื่องดนตรีไทย
ปัญหาสำคัญอีกประการ คือ จานวนนักเรียนที่เรียนปฏิบัติไม่สัมพันธ์กับจานวนครูผู้สอน กล่าวคือ การเรียนปฏิบัติดนตรีนั้นเป็นเรื่องพัฒนาทักษะเฉพาะด้านที่โดยปกติจะต้องสอนแบบตัวต่อตัว หรือกล่าวได้ว่าครูหนึ่งคนต่อนักเรียนหนึ่งคน หรือครูหนึ่งคนต่อนักเรียน ไม่เกิน 5 คน จึงจะพัฒนานักเรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามการเรียนรู้ของเด็ก แต่ในการสอนปฏิบัติในชั้นเรียนที่เกิดขึ้นจริงและเป็นปัญหาต่อครูสอนดนตรีทั่วไป คือ ครูหนึ่งคนต่อนักเรียนทั้งระดับชั้น ทาให้เกิดปัญหาในการจัด การเรียนการสอนเรื่องต่างๆ เช่น เครื่องดนตรีไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ระยะเวลาไม่เพียงพอ เป็นต้น
การแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นสิ่งสำคัญและท้าทายผู้สอน ในการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการปฏิบัติเครื่องดนตรีจริง เพื่อนักเรียนทุกคนจะไม้มีโอกาสปฏิบัติเครื่องดนตรีจริง จะเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการทางดนตรีของเด็กในอนาคต ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องคิดพัฒนานวัตกรรมการสอนดนตรีไทยสำหรับเด็ก เพื่อแก้ปัญหาข้างต้นและจะได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน
จากประสบการณ์การสอนขลุ่ย สำหรับเด็กประถมศึกษา ผู้วิจัยตระหนักเสมอว่า การสอนดนตรีไทยจากภูมิปัญญาของครูในอดีตนั้นยังคงเป็นวิธีการสอนที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ในระยะยาว
และในขณะเดี่ยวกันผู้วิจัยได้พบว่า สิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจและมีความสุขกับการเรียนขลุ่ยสำหรับเด็กช่วงอายุ 7-9 คือ การใช้สีเป็นสัญลักษณ์และแผนผังการเปิด-ปิดรู้บังคับเสียงควบคู่กับตัวโน๊ต เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักสังเกตการณ์เคลื่อนไหวและการฟังมากขึ้น โดยสามารถจดจำนิ้ว ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจและสนุกสนานกับการเรียน
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึง สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนขลุ่ยเพียงออขึ้นโดยใช้สีและแผนผังรูปภาพกระตุ้นทักษะการจำของผู้เรียนขลุ่ย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยอาศัยหลักการและภูมิปัญญาการเรียนการสอนดนตรีไทย คือ การต่อเพลง ที่มีมาแต่โบราณเป็นหลักการพื้นฐาน มาประยุกต์เข้ากับนวัตกรรมที่สร้างขึ้นใหม่มาใช้ในการเรียนการสอนขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดล้านตอง