LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

บทบาทของผู้บริหารที่สำคัญต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

usericon

การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เป็นการให้หลักฐานข้อมูลแก่ประชาชนว่า บุคลากรในสถานศึกษาทำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ผู้เรียนและสาธารณชนมั่นใจในคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้น สถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน และให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารจะมีบทบาทในการเป็นผู้นำการจัดการ เพื่อควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยผนึกกำลังกับครู คณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน วางแผนการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้บังเกิดผลที่เด็กนักเรียนตามมาตรฐาน มีการตรวจสอบ และยอมรับในแผนดำเนินงานของโรงเรียน ระบบการประกันคุณภาพภายในเป็นเรื่องเดียวกับกระบวนการบริหารงานอย่างมีคุณภาพหรือวงจร PDCA และจะต้องไม่แยกจากการทำงานปกติของสถานศึกษา แต่จะเป็นระบบที่ผสมผสาน อยู่ในกระบวนการบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร และการทำงานนั้นผู้บริหารจะต้องมีการทำงานเป็นทีม โดยบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาต้องได้รับการเตรียมความพร้อมให้มองเห็นคุณค่า และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา และดำเนินการอย่างต่อเนื่องร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยมีการติดตามและกำกับดูแลการดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบ ในการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ควรมีการเตรียมการเพื่อสร้างความพร้อมให้แก่บุคลากรและจัดให้มีกลไกในการดำเนินงาน หลังจากนั้นบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องจึงร่วมกันวางแผน ร่วมกันปฏิบัติ ร่วมกันตรวจสอบ และร่วมกันปรับปรุง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมด และมีแนวทางการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนรวมทั้งบทบาทของผู้บริหารในการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้
ขั้นตอนแรก การเตรียมการก่อนดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ผู้บริหารจะมีบทบาทในการเตรียมความพร้อมของบุคลากร โดยสร้างความตระหนัก และพัฒนาความรู้ทักษะต่าง ๆ ให้กับบุคลากร รวมทั้ง การแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อร่วมกับผู้บริหารในการประสานกระตุ้น กำกับ ดูแล ให้บุคลากรภายในสถานศึกษา และบุคลากรภายนอกที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกันดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ในการสร้างความตระหนัก ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องปลุกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้บุคลากรทุกฝ่ายมองเห็นคุณค่า และมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ถ้าบุคลากรยังมีความเข้าใจแตกต่างกันออกไปและไม่มีทัศนคติที่ดี การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาก็จะสำเร็จได้ยาก ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องปรับความคิดของบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับเดียวกันก่อน และในการพัฒนาความรู้และทักษะเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน บุคลากรส่วนใหญ่ยังเข้าใจวิธีการประกันคุณภาพภายในค่อนข้างน้อย และไม่รู้ว่าจะดำเนินการอย่างไรในแต่ละขั้นตอน รวมทั้งยังขาดทักษะในการประเมินตนเอง ผู้บริหารจึงควรฝึกอบรมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจให้สามารถดำเนินการประกันคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้บริหารต้องดำเนินการร่วมกับบุคลากรหลักที่ได้รับมอบหมายในรูปของคณะกรรมการ หรือคณะทำงานในการดำเนินงานต่าง ๆ และต้องกำกับ ดูแล ช่วยเหลือ สนับสนุนให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน และเชื่อมโยงกันเป็นทีมเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ขั้นตอนที่สอง การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ในขั้นตอนนี้ผู้บริหารมีบทบาทในการบริหารจัดการ ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวก ให้คำปรึกษา แนะนำ ดูแลให้มีการประกันคุณภาพภายใน ที่ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดยในการวางแผนการปฏิบัติงาน (P) ผู้บริหารจะต้องเป็นแกนนำในการจัดทำแผนรวมทั้งกำกับ ติดตาม ให้มีการดำเนินงานตามแผนการ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาควรจัดให้มีการจัดทำแผนต่าง ๆ คือ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรและสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษา แผนการประเมินคุณภาพการศึกษา แผนงบประมาณทั้งรายรับและรายจ่ายของสถานศึกษาซึ่งแผนต่าง ๆ ต้องมีความเชื่อมโยงกันเมื่อมีการวางแผนปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเป็นการปฏิบัติตามแผน (D) เมื่อบุคลากรร่วมกันดำเนินการตามแผนที่จัดทำไว้ ผู้บริหารควรจะส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างมีความสุขจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากรเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิ ภาพกำกับ ติดตาม ทั้งระดับรายบุคคล รายกลุ่ม รายหมวด หรือฝ่าย เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการดำเนินตามแผน ผู้บริหารต้องนิเทศติดตามการดำเนินงาน ว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนที่กำหนดไว้หรือมีปัญหาหรือไม่ หากเป็นไปตามแผนหรือมีปัญหาจะได้ให้การนิเทศเพื่อปรับปรุงแก้ไข ในการนิเทศผู้บริหารควรให้การนิเทศเพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องการจัดการเรียนการสอน การประเมินตนเอง และทักษะในด้านต่าง ๆ โดยผู้บริหารอาจให้การนิเทศเอง หรือเชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ แต่ละด้านมาให้การนิเทศ หรือให้บุคลากรไปอบรมเพื่อให้เกิดทักษะในด้านต่าง ๆ หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนตรวจสอบประเมินผล (C) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (A) ผู้บริหารและครูต้องเข้าใจระบบการประกันคุณภาพอย่างถูกต้อง และต้องตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินผล
นอกจากนี้ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำและส่งเสริมการนำผลจากการประเมินตนเองมาใช้ในการปรับปรุงสถานศึกษา และการรายงานผลให้สาธารณชนรับทราบขั้นตอนสุดท้าย ผู้บริหารต้องเป็นแกนนำในการจัดทำรายงานประเมินตนเอง หรือรายงานประจำปี รวบรวมผลการดำเนินงานและผลการประเมิน วิเคราะห์ตามมาตรฐาน และเขียนรายงาน
จะเห็นว่าในการบริหารและการจัดการศึกษาที่เน้นการประกันคุณภาพภายในนั้น ผู้บริหารจึงเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา มีบทบาทในการเป็นผู้นำ เป็นผู้อำนวยการ และเป็นผู้อำนวยความสะดวก ที่จะต้องพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ จนเป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครอง ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^