กรณีศึกษาระบบอัตลักษณ์การออกแบบโลโก้ บริษัท การบินไทย
บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ถือกำเนิดขึ้นจากท่าอากาศยานเดินอากาศไทย จำกัด ได้เข้าร่วมทุน กับสายการบินสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ เพื่อก่อตั้งสายการบินที่ทำการบินสู่ต่างประเทศ ในชื่อของ บริษัท การบินไทย จำกัด เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ 2502 ซึ่งต่อมารัฐบาลไทยซื้อหุ้นคืนจากสายการบิน SAS จึงทำให้บริษัทการบินไทยเป็นสายการบินของคนไทยที่บริหารงานโดยคนไทยอย่างสมบูรณ์ในปี 2520 และได้ให้บริการเป็นที่ยอมรับทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศมาถึง 40 ปี
อัตลักษณ์แรกของบริษัทการบินไทยเริ่มต้นขึ้นในปีพศ 2504 คือ บริการเอื้องหลวง ที่ผสมผสานการต้อนรับอันนุ่มนวลเปี่ยมด้วยน้ำใจ และอัธยาศัยไมตรีแบบคนไทยในการให้บริการ ต่อมาจึงได้มีการออกแบบโลโก้สัญลักษณ์ตุ๊กตารำไทย โดย หม่อมเจ้า ไกรสิงห์ วุฒิไชย ซึ่งทำให้บริษัทการบินไทยเป็นที่รู้จักดียิ่งขึ้น และได้ใช้ต่อมาจนถึงปีพ.ศ 2518 จึงได้เปลี่ยนโลโก้สัญลักษณ์ใหม่ให้มีความเป็นสากลยิ่งขึ้น
แนวความคิดในการออกแบบโลโก้
บริษัท Lander and associate ได้ส่ง Mr. Peter McDonald มาทำงานสำรวจทั่วประเทศไทย เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมไทย รูปแบบของศิลปะโบราณ วัดวาอาราม เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบโลโก้ โดยได้เลือกสิ่งต่างๆ ที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นไทย เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบสัญลักษณ์โลโก้ตัวอย่าง เช่น ดอกบัว และใบเสมา เป็นต้น
--------------------------------------------------
อ้างอิง
LogoBigbang
เนื้อหา: หนังสือการออกแบบอัตลักษณ์
https://market.kapook.com/view-4775e6a7f000006
--------------------------------------------------
คณะกรรมการของบริษัทการบินไทย ที่ไปพิจารณาคัดเลือกแบบขึ้น ได้เลือกสัญลักษณ์โลโก้ที่พัฒนารูปแบบจากใบเสมา เป็นสัญลักษณ์ของบริษัทการบินไทยนับตั้งแต่นั้นมา อนึ่ง สัญลักษณ์ของบริษัทการบินไทยนี้ กัปตันพร้อม ณ ถลาง ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับสัญลักษณ์นี้ในหนังสือ Cabin Attendant Basic Course Textbook มีแต่ความว่าหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวันฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2529 ได้ลงข่าว และภาพเรื่องกรมศิลปากรขุดพบเตาเผาเครื่องถ้วยชาม และเศษภาชนะดินเผา ที่ตำบลวิหารแดง จังหวัดสุพรรณบุรี และได้พบภาชนะดินเผาที่มีลวดลาย ละม้ายกับสัญลักษณ์ของบริษัทการบินไทย ซึ่งอาจเป็นการบังเอิญหรือ Mr. Peter McDonald ได้มาเห็นลวดลายนี้และนำไปใช้ในการออกแบบหรือไม่ก็ตามที แต่จะเห็นได้ว่าลวดลายศิลปะกรรมไทยบนภาชนะดินเผาที่มีอายุกว่า 800 ปีเป็นงานศิลปกรรมร่วมสมัย ที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย สมัยโบราณที่ควรค่าแก่การยกย่องได้เป็นอย่างดี
รูปแบบอัตลักษณ์
สัญลักษณ์โลโก้ของบริษัทการบินไทย เป็นการนำแนวความคิด และลวดลายงั้นอ่อนช้อยงดงามทางด้านศิลปะไทย ของใบเสมา ซึ่งเป็นศาสนวัตถุของชาติที่สำคัญ และพบเห็นอยู่ทั่วไปมาจัดวางในแนวนอนเพื่อให้สื่อความหมายภาพลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน และเหมาะสมกับการใช้งานของสายการบินไทย ที่ต้องการสื่อความหมายเกี่ยวกับการพุ่งทะยานไปข้างหน้า โดยออกแบบตัดทอนให้เรียบง่าย และร่วมสมัยยิ่งขึ้น สีที่ใช้ สีหลักของสัญลักษณ์ คือสีม่วงเป็นสีของกล้วยไม้ประเภทหวาย ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย คือสีเหลืองทอ งสื่อความหมายถึงศิลปะไทย และสถาปัตยกรรมไทย และเห็นได้จากสีทองสุกปลั่งบนหลังคาพระอุโบสถตามวัดวาอารามต่างๆ สีอีกสีหนึ่งคือสีชมพูสด เป็นสีที่ใช้ร่วมกันกับสีม่วงได้อย่างกลมกลืน และตัดกับสีเหลืองทองแทนสีของผ้าไหมไทย ที่มีความงดงาม และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย
ผู้ออกแบบทําโลโก้
บริษัทการบินไทยได้ว่าจ้างบริษัท Lander and associate ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบโลโก้ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ออกแบบสัญลักษณ์ใหม่และได้ใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
การใช้งาน
ได้มีการนำอัตลักษณ์โลโก้ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ ของใช้ ของที่ระลึกบนเครื่องบิน กราฟฟิกบนเครื่องบิน รถขนส่ง เครื่องแต่งกายพนักงาน เคาน์เตอร์บริการ และอื่นๆ อีกมากมาย
ประเด็นปัญหา
ในช่วงต้นของการใช้งานระบบอัตลักษณ์โลโก้นี้ จะเห็นได้ว่าเป็นการใช้งานที่ค่อนข้างเป็นระบบตามที่บริษัทผู้ออกแบบ และวางระบบไว้ให้ทำให้ภาพลักษณ์ของบริษัทการบินไทยค่อนข้างชัดเจน และการใช้งานระบบอัตลักษณ์ในองค์กรประสบความสำเร็จมากกว่าองค์กรอื่น แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการให้ความสนใจในเรื่องระบบอัตลักษณ์โลโก้ของบริษัทการบินไทยลดน้อยลง ซึ่งปัญหาที่จะตามมาก็คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอัตลักษณ์องค์กร ของบริษัทการบินไทย