การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างทางกายภาพและความสามารถในการดูดซับน้ำ
ระดับ : ชั้นมัธยมศึกษา (ม.1-3)
ชื่อโครงงาน : การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างทางกายภาพและความสามารถในการดูดซับน้ำมันพืช น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ที่ปนเปื้อนในน้ำของไส้หญ้าปล้อง
ผู้จัดทำโครงงาน : 1. เด็กหญิงมณีรัตนา จุลคง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. เด็กหญิงบุญยวีร์ ฟักสุวรรณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. เด็กหญิงอัจฉรา ขาวผ่อง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ครูที่ปรึกษา : นายบารมี อ่ำขำ
นายสุรพงษ์ แสงคำดี
สถานศึกษา : โรงเรียนวัดประชาบำรุง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปีการศึกษา : 2563
บทคัดย่อ
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตปัจจุบันประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหามลพิษทางน้ำ เนื่องจากน้ำมันและไขมัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทั้งพืชน้ำสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตเล็กๆ รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย คณะผู้จัดทำได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความคิดที่จะทำการศึกษาวัสดุธรรมชาติที่สามารถดูดซับน้ำมันปนเปื้อนในน้ำ โดยการนำไส้หญ้าปล้องที่หาได้ง่ายและมีจำนวนมากในท้องถิ่น มาศึกษาโครงสร้างทางกายภาพของไส้หญ้าปล้องแบบสดและแบบแห้งและทดลองเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับน้ำมันชนิดต่างๆ ที่ปนเปื้อนในน้ำ เช่น น้ำมันพืช น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วของไส้หญ้าปล้องแบบสดและแบบแห้ง และหาปริมาณไส้หญ้าปล้องที่ต้องใช้ในการดูดซับน้ำมันแต่ละชนิดเพื่อช่วยแก้ปัญหาและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัดน้ำมันปนเปื้อนในครัวเรือน การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ตอน
ตอนที่ 1 ศึกษาลักษณะโครงสร้างทางกายภาพของไส้หญ้าปล้องแบบสดและแบบแห้ง โดยการย้อมสีและไม่ย้อมสี ศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ผลการทดลองพบว่าไส้หญ้าปล้องเป็นเนื้อเยื่อพืชที่มีน้ำหนักเบา เนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นเส้นใยเชื่อมกันคล้ายฟองน้ำมีรูพรุน แต่ไส้หญ้าปล้องแบบสดและแบบแห้งมีลักษณะโครงสร้างทางกายภาพที่แตกต่างกัน คือ แบบสดเส้นใยเต่งตึง เห็นรูพรุนชัดเจนกว่า ส่วนแบบแห้งเส้นใยหย่อนมีรูพรุนขนาดใหญ่แต่อยู่ชิดกันแบบหลวมๆย้อมสีไม่ติด
ตอนที่ 2 ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับน้ำมันพืช น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ของไส้หญ้าปล้องแบบสดและแบบแห้ง โดยพิจารณาจากปริมาณน้ำมันที่เหลือหลังการดูดซับด้วยไส้หญ้าปล้องและพิจารณาจากผลต่างของน้ำหนักไส้หญ้าปล้องก่อนและหลังแช่ในน้ำมันชนิดต่างๆ ผลการทดลองพบว่า
น้ำมันที่เหลือจากการดูดซับของไส้หญ้าปล้องแบบแห้ง เหลือน้อยกว่าน้ำมันที่เหลือจากการดูดซับของไส้หญ้าปล้องแบบสดน้ำมันที่เหลือจากการดูดซับของไส้หญ้าปล้องแบบสด ที่เหลือน้อยที่สุด คือ น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว รองลงมาคือ น้ำมันพืช และน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ส่วนน้ำเหลือมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.43, 10.44, 11.46 และ 18.26 ตามลำดับ ส่วนน้ำมันที่เหลือจากการดูดซับของไส้หญ้าปล้องแบบแห้ง ที่เหลือน้อยที่สุดคือ น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว รองลงมาคือ น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และน้ำมันพืช ส่วนน้ำเหลือน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.21, 7.00, 7.25 และ 18.96 ตามลำดับ
ไส้หญ้าปล้องแบบแห้งดูดซับน้ำมันแต่ละชนิดได้ดีกว่าไส้หญ้าปล้องแบบสด ไส้หญ้าปล้องแบบสดดูดซับน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วได้ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำมันพืชน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และน้ำเปล่าดูดซับได้น้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.25, 7.88, 6.19 และ 9.25 ตามลำดับ ส่วนไส้หญ้าปล้องแบบแห้งดูดซับน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วได้ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว น้ำมันพืช และดูดซับน้ำเปล่าได้น้อยที่สุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.23, 10.77, 9.72 และ 0.22 ตามลำดับ
ตอนที่ 3 หาปริมาณไส้หญ้าปล้องที่ต้องใช้ในการดูดซับน้ำมันพืช น้ำมันพืชที่ใช้แล้วและน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วที่ปนเปื้อนในน้ำ400 มิลลิลิตรชนิดล่ะ 20 กรัม ดูดซับจนกว่าน้ำมันบนผิวน้ำหมด พบว่า ไส้หญ้าปล้องแบบแห้งดูดซับน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ได้ดีที่สุด โดยใช้ไส้หญ้าปล้อง 3 แผ่น 0.60 กรัม ใช้เวลา 15 นาที รองลงมาคือน้ำมันพืชที่ใช้แล้วใช้ไส้หญ้าปล้อง 4แผ่น 0.80 กรัมใช้เวลา20 นาที ส่วนน้ำมันพืชดูดซับได้ช้าที่สุดคือ ใช้ไส้หญ้าปล้อง 5 แผ่น 1.0 กรัม ใช้เวลา 25 นาที