การประเมินโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านควา
การประเมินโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อประเมินเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินงานโครงการ และผลผลิตของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 1. ระดับคุณภาพในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ 2. พฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด 3. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และ 4. ความพึงพอใจของจตุรภาคีในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 17 คน ประชากรครู จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 13 คน คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 7 ฉบับ 2 ลักษณะ คือ 1. ลักษณะแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามการประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 5 แบบสอบถามประเมินผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ฉบับที่ 7 แบบสอบถามประเมินผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของจตุรภาคีในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา ลักษณะที่ 2 คือ ฉบับที่ 6 เป็นแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนจากงานบริหารวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ของประชากร ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) ของกลุ่มตัวอย่าง ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) ของประชากร และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) ของกลุ่มตัวอย่าง
ผลการประเมิน
ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมเฉลี่ยสูงสุด (= 4.54, = 0.53) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมเฉลี่ย (x ̅= 4.54, S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาภาพรวม พบว่าครูมีความคิดเห็นโดยรวมเฉลี่ย ( = 4.79, = 0.42) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการประเมินกระบวนการของโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความคิดเห็นโดยรวมเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.59, = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นโดยรวมเฉลี่ย (x ̅ = 4.51, S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนนักเรียน มีความคิดเห็นโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด (x ̅= 4.38, S.D. = 0.65) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
สรุปผลการประเมินผลผลิตของโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 ผู้รายงานประเมิน 4 ประเด็น ดังนี้
4.1 ระดับคุณภาพในการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อระดับคุณภาพโดยรวมเฉลี่ยสูงสุด (x ̅= 4.57, S.D. = 0.55) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ครูและนักเรียน มีความคิดเห็นต่อระดับคุณภาพโดยรวมเฉลี่ย (=4.51, = 0.52) (x ̅= 4.51,S.D. = 0.55) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อระดับคุณภาพโดยรวมเฉลี่ยต่ำสุด (x ̅= 4.48, S.D. = 0.57) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ ตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ตามความคิดเห็นของครู และ ผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นว่าพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x ̅= 4.57, S.D. = 0.59) มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมได้ 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยรวมเฉลี่ย (x ̅= 4.52, S.D. = 0.54) มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับดีขึ้นไปเฉลี่ย ร้อยละ 87.50 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวบ่งชี้ที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไปเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 100 รองลงมา คือ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านจิตสาธารณะ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไปเฉลี่ย ร้อยละ 94.74 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้และอยู่อย่างพอเพียง มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไปต่ำสุด ร้อยละ 81.58
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของจตุรภาคีในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” โรงเรียนวัดชลธารประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงสุด (x ̅= 4.62, S.D. = 0.61) อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมได้ 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ครู มีความพึงพอใจเฉลี่ย (= 4.60, = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมได้ 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนนักเรียน มีความพึงพอใจเฉลี่ยต่ำสุด (x ̅= 4.48, S.D. = 0.62) อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมได้ 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
ควรดำเนินโครงการเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่าย “จตุรภาคี” อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบอย่างยั่งยืน
ควรขยายผลการดำเนินโครงการ ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง
ควรสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ให้ชาวบ้าน คนในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีส่วนช่วยเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องด้วย
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
ควรประเมินโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสารสนเทศที่ต้องการ
ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย
ควรศึกษาวิจัย/ประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียนทุกโครงการเพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน