การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
(หิรัญราษฎร์ภักดีวิทยา) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST
ผู้ศึกษา นายณรงค์ศักดิ์ สันทัดเลขา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนวัดสำโรง(หิรัญราษฎร์ภักดีวิทยา)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต1
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดสำโรง (หิรัญราษฎร์ภักดีวิทยา) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST ในด้านบริบท (Context) 2) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดสำโรง (หิรัญราษฎร์ภักดีวิทยา) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST ในด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 3) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดสำโรง (หิรัญราษฎร์ภักดีวิทยา) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST ในด้านกระบวนการ (Process) 4) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดสำโรง (หิรัญราษฎร์ภักดีวิทยา) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST ในด้านผลผลิต(Product) โดยปรับขยายการประเมินผลผลิตออกเป็น 4.1 การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของนักเรียนเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับผู้เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์สำคัญทั้งที่คาดหมายและไม่คาดหมาย ทั้งทางบวกและทางลบ 4.2 การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ผลประโยชน์ที่นักเรียนได้รับตามคาดหวังหรือไม่ 4.3 การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) รักษาความต่อเนื่องของผลสำเร็จ 4.4 การประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) ความเหมาะสมในการนำแผนงานไปประยุกต์ใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan.1970:607-610) จำนวน 348 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน ครู จำนวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียน จำนวน 158 คนและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ด้านบริบท ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน ดังนี้
4.1ประเมินผลกระทบ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ประเมินประสิทธิผล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ประเมินความยั่งยืน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง คือ ควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการให้ผู้ปกครองรับทราบอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ปกครอง และชุมชน จะได้เข้ามาให้การสนับสนุนทั้งกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์