การประเมินโครงการสหกรณ์ครบวงจรโรงเรียนชุมชนประชานิคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1
ชื่อผู้ประเมิน นายวิชิต วงศ์ลีลากรณ์
สาขาวิชา บริหารสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการสหกรณ์ครบวงจรโรงเรียนชุมชนประชานิคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการสหกรณ์ครบวงจรโดยประเมิน บริบทของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการ ประเมินผลผลิตของโครงการและผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เกี่ยวกับสหกรณ์โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน 25 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 28 คนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 82 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการสหกรณ์ครบวงจรโรงเรียนชุมชนประชานิคม
1.1 ด้านบริบทของโครงการ ประกอบด้วย นโยบาย หลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ผู้บริหารสถานศึกษา ตรูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 เห็นด้วยในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประกอบด้วย สื่อ เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร งบประมาณและระยะเวลา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 เห็นด้วยในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.3 ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย การวางแผนเตรียมการและกิจกรรมในการดำเนินโครงการ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 เห็นด้วยในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.4 ด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย ผลการดำเนินงาน การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 เห็นด้วยในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.5 ด้านผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับสหกรณ์ มีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังดำเนินงานโครงการมากกว่าก่อนดำเนินงานโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
2. ปัญหาอุปสรรค
2.1 การกำหนดนโยบายยังขาดความต่อเนื่อง
2.2 งบประมาณที่สนับสนุนไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรให้บริการห้องสหกรณ์อย่างเพียงพอและขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
2.3 การประชาสัมพันธ์และการประสานกับชุมชนยังมีน้อย
3. ข้อเสนอแนะ
3.1 ควรเพิ่มงบประมาณที่สนับสนุนโครงการเพื่อจัดหาสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากรเพื่อการให้บริการอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
3.2 ประชาสัมพันธ์โครงการสหกรณ์ครบวงจรเพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญและเกิดความร่วมมือในการสนับสนุนโครงการ