LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมทักษะการอ่าน

usericon

ชื่อเรื่อง การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมทักษะการอ่าน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม
ผู้จัดทำ นางสาวกวินนา หอมหวล
โรงเรียน ห้วยทับทันวิทยาคม
ปี พ.ศ. 2562
ประเภทนวัตกรรม ด้านจัดการเรียนรู้

การอ่านถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับสังคมไทย คุณภาพการอ่านของบุคคลในสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญถ้าประชาชนส่วนใหญ่ในชาติมีปัญหาในการอ่าน ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้ (สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์, 2548) ดังนั้น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 จึงได้เน้นความสำคัญของการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เน้นกระบวนการคิดของนักเรียน การได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงเน้นรักการอ่าน และต้องฝึกให้นักเรียนทำได้ คิดเป็นและทำเป็น
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เน้นทักษะทั้ง 5 ด้าน คือ การอ่าน การเขียน การฟังการดูและการพูด หลักการใช้ภาษาวรรณคดีและวรรณกรรม รวมทั้งสมรรถนะสำคัญของนักเรียนด้านความสามารถในการสื่อสาร ซึ่งเป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรม ในการถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และ ทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง สังคมรวมทั้งการเจรจา ต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ เพื่อพัฒนา นักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจมีความสามารถในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการอ่านนับว่าเป็นหัวใจในการเรียนรู้ ผู้ที่ประสบผลสำเร็จในการอ่านได้จะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ กล่าวคือ มีความพร้อมในการอ่าน สามารถใช้สติปัญญาแปลความหมายสิ่งที่อ่านและเชื่อมโยงประสบการณ์ของตนกับสิ่งที่อ่านได้ ดังนั้น การอ่านจึงมีความจำเป็นและมีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง คือ ทำให้ได้รับความรู้ ความคิด ตลอดจนแนวทางในการดำรงชีวิตทุกแง่ทุกมุม ทางอ้อม คือ ทำให้เขียนหนังสือไม่ผิด ช่วยให้อ่านหนังสือได้คล่องแคล่ว และมีนิสัยรักการอ่าน (กรมวิชาการ, 2545 : 7) การอ่านเป็นทักษะสำคัญ เพราะสามารถช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงเรื่องที่อ่านอย่างถูกต้อง สำหรับนักเรียนวิชาต่าง ๆ ทุกสาขานักเรียนจะใช้ทักษะการอ่าน เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ซึ่ง ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีรุดหน้าไปเรื่อย ๆ มีการวิจัยสิ่งที่แปลกใหม่ตลอดเวลา การอ่านจะทำให้ผู้อ่านรู้ข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ ทันต่อความเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าของ โลก ตลอดทั้งทำให้การดำรงชีวิตประจำวันเป็นปรกติสุขและมีคุณภาพ
การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรที่กำหนดนั้นสถานศึกษาจะต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิดการเผชิญสถานการณ์ การจัดกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผสมผสานการเรียนรู้ต่าง ๆ อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งการใช้วิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลจัดการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่(กระทรวงศึกษาธิการ,2553)
สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีนโยบายที่สำคัญเพื่อเร่งแก้ปัญหาการอ่านการเขียนภาษาไทยเป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนต่อเนื่องจากปี 2550 เนื่องจากปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้สาระอื่นพร้อมทั้งเร่งยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยในปีงบประมาณ 2551 ให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่2 อ่านคล่องเขียนคล่อง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2553)
การส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนตลอดจนดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสามารถดำเนินการประสบผลสำเร็จเพียงใดต้องอาศัยผู้บริหารโรงเรียนที่มีวิสัยทัศน์และสนใจงานด้านการอ่านอย่างจริงจังทั้งในแง่การเป็นคนรักการอ่านและเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียน เพราะการอ่านและเข้าใจความสำคัญของการอ่านจะทำให้ผู้บริหารวางนโยบายเพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีทิศทางชัดเจนรวมทั้งช่วยหนุนให้บุคลากรคนทำงานมีกำลังใจในการทำงานพร้อมที่จะผ่านอุปสรรคในการทำงานให้ลุล่วงไปสู่ผลสำเร็จ การอ่านนั้นมีหลายระดับ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจเนื้อหาและสามารถรู้ เข้าใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านนั้น ๆ ได้ การแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการอ่านเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เรื่องการอ่านให้มีความภาคภูมิใจในตนเองมีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรียนรู้กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนอีกทางหนึ่ง
งานวิจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจในการอ่านมักอ้างถึงทฤษฎีการกำหนดการกระทำด้วยตนเอง (Self-determination theory) ของ Ryan และ Deci (2000) ซึ่งอธิบายแนวโน้มพัฒนาการและความต้องการภายในทางจิตวิทยาซึ่งเป็นพื้นฐานของแรงจูงใจและบุคลิกภาพของบุคคล รวมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยในการเสริมสร้างกระบวนการ การอ่านของนักเรียนเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจทั้งแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอก นักเรียนที่มีแรงจูงใจภายในจะสำรวจโลกการอ่านเพื่อค้นหาหัวข้อที่ตนเองสนใจและมีแนวโน้มจะเป็นนักอ่าน มีความเพียรในการอ่าน แม้เนื้อหาที่อ่านจะมีความยาก และพยายามเสริมสร้างทักษะในการอ่านต่าง ๆ เพื่อการทำความเข้าใจ ความต้องการในการเอาชนะในความท้าทายของการอ่านทำในเกิดความเพลิดเพลินและความก้าวหน้าในทักษะการอ่าน สิ่งที่ได้รับจากการอ่านทั้งในด้านความรู้และความรู้สึกพึงพอใจ ทำให้ผู้อ่านใช้เวลามากขึ้น ผู้อ่านเหล่านี้จัดได้ว่ามีแรงจูงใจในการอ่านและกลายเป็นผู้กำหนดการทำกิจกรรมการอ่านด้วยตนเอง (Wang and Guthrie,2004) ส่วนแรงจูงใจภายนอกซึ่งหมายถึง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกิดจากความต้องการหรือค่านิยมที่มาจากภายนอก (Ryan and Deci,2000) เช่น นักเรียนทำกิจกรรมการอ่านเพราะต้องการหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษหรือต้องการทำตามความคาดหวังของผู้ปกครองและครู การกระทำดังกล่าวมาจากแรงจูงใจภายนอกเพราะความต้องการที่จะอ่านถูกควบคุมโดยปัจจัยที่มาจากภายนอก นอกจากนี้การอ่านที่เกิดจากแรงจูงใจภายนอกจะไม่ได้เกิดจากความสนใจของตนเองแต่เกิดจากความต้องการที่จะได้รับผลลัพธ์ที่เป็นค่านิยมทางสังคม เช่น เพื่อให้ได้เกรดสูง การได้รับการยอมรับจากผู้อื่นหรือเพื่อให้ได้ทักษะที่ต้องการ ผู้อ่านเหล่านี้จะอ่านเพราะการอ่านเป็นวิถีทางของการแสดงถึงความเป็นเลิศและเพื่อพิสูจน์ความรู้สึกเกี่ยวกับความมีคุณค่าในตนเองซึ่งในที่สุดผู้อ่านอาจจะมีพฤติกรรมที่เกิดจากค่านิยมทางสังคมภายในตนเองและการอ่านจะถูกบูรณาการเข้ากับความรู้สึกความเป็นตัวตนของเขา
จากผลการวิจัยดังกล่าวการอ่านของนักเรียนเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจทั้งแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอก นักเรียนที่มีแรงจูงใจจะมีความเพียรในการอ่าน แม้เนื้อหาที่อ่านจะมีความยาก แต่จะพยายามเสริมสร้างทักษะในการอ่านต่าง ๆ เพื่อการทำความเข้าใจ ความต้องการในการเอาชนะในความท้าทายของการอ่านทำในเกิดความก้าวหน้าในทักษะการอ่าน กลายเป็นผู้กำหนดการทำกิจกรรมการอ่านด้วยตนเอง
กาญจนา ทันอินท์อาจ (2550) ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีต่อนิสัยการอ่านของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อศึกษานิสัยการอ่าน ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อนิสัยการอ่านและเพื่อสร้างสมการพยากรณ์นิสัยการอ่านจากคุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวัดนิสัยการอ่าน แบบทดสอบบุคลิกภาพ การปรับตัวเพื่อความเป็นเลิศ (STRI) แบบวัดความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง แบบวัดระดับการคิดที่แท้จริง และแบบสำรวจการเรียนรู้ ผลการศึกษาเมื่อทำการเปรียบเทียบนิสัยการอ่านโดยใช้สถิติทดสอบ Kruskal Wallis พบว่า การได้รับการส่งเสริมการอ่านจากทางบ้าน การได้รับการส่งเสริมการอ่านจากทางโรงเรียน บุคลิกการปรับตัวเพื่อความเป็นเลิศจากลักษณะนิสัยเนื่องจากสิ่งแวดล้อม ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง และระดับการคิดที่แท้จริงต่างกันส่งผลให้มีนิสัยการอ่านที่แตกต่างกัน ส่วน เพศ บุคลิกภาพ การปรับตัวเพื่อความเป็นเลิศจากลักษณะนิสัยเฉพาะตัว และรูปแบบการเรียนที่ต่างกันมีนิสัยการอ่านไม่แตกต่างกัน การได้รับการส่งเสริมการอ่านจากทางบ้านและจากโรงเรียน บุคลิกภาพการปรับตัวเพื่อความเป็นเลิศจากลักษณะนิสัยเนื่องจากสิ่งแวดล้อม บุคลิกภาพการปรับตัวเพื่อความเป็นเลิศจากลักษณะนิสัยเฉพาะตัว ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองการคิดแท้จริงระดับร่วมพัฒนา รูปแบบการเรียนแบบ Sensor thinker , Sensor feeler, intuitive thinker และแบบ intuitive feeler มีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรนิสัยการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่เพศ และการคิดแท้จริงระดับอิสระ มีความสัมพันธ์กับนิสัยการอ่านอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรทำนายที่ดีที่สุดของนิสัยการอ่าน ได้แก่ รูปแบบการเรียนแบบ intuitive thinker การส่งเสริมการอ่านจากทางบ้าน ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง การส่งเสริมการอ่านจากโรงเรียน และรูปแบบการเรียนแบบ Sensor thinker โดยตัวแปรทำนายทั้ง 5 ตัวเมื่อสร้างเป็นสมการทำนายมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .59 และสามารถร่วมกันทำนายนิสัยการอ่านได้ร้อยละ 35.1
จากผลการวิจัยดังกล่าวรูปแบบการเรียนที่ใช้กระบวนการในการคิดมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อนิสัยการรักการอ่าน
ปัจจุบันนี้การสอนอ่านยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดมีสาเหตุมาจากครูผู้สอนมีชั่วโมงสอนมาก มีภาระอื่น ๆ ต้องรับผิดชอบ ไม่มีเวลาเตรียมการสอน ครูขาดเทคนิควิธีสอน ไม่รู้จิตวิทยาสำหรับเด็ก เป็นต้น สาเหตุดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน ไม่มีความพยายามในการแสวงหาความรู้หรือพัฒนาตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ให้ความสำคัญในการเรียน ทำให้ขาดทักษะที่จำเป็นในการหาความรู้ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ และส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ดังนั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม มีการกำหนดและวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ครูผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการจัดการเรียนการสอน ประเมินผล และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยกำหนดค่าเป้าหมายการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนต้องได้ 3.75 ขึ้นไป และในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ระดับผลการเรียนเฉลี่ย 3.57 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ จากการรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังกล่าวทำให้ผู้สอนทราบว่านักเรียนขาดทักษะการอ่านที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ แต่ผลการประเมินการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม มีผลการประเมินสูงกว่าระดับประเทศต่อเนื่อง 3 ปี (รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปี 2562 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม , 2562) โดยการขับเคลื่อนของกลุ่มบริหารที่ให้ความสำคัญกับนักเรียน ส่งเสริมให้มีการติวเข้มเพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นแนวทางการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน โดยอิงจากรูปแบบและวิธีการติวเข้ม ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล จัดกลุ่มผู้เรียนเพื่อระดมความคิดในการแก้ไขปัญหา ให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และเพิ่มความท้าทายด้วยปัญหาที่ต้องอาศัยทักษะการอ่าน อ่านคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และความรู้รวบยอด การแข่งขันที่หลากหลาย และการสะท้อนผลอย่างทันท่วงที จึงแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการออกแบบและพัฒนาสื่อนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
จากความสำคัญของปัญหาและแนวคิดในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนดังกล่าวผู้วิจัยได้ศึกษาและสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการ ทฤษฎี แนวคิด เอกสารต่าง ๆ เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่จะช่วยส่งเสริมทักษะการอ่านของนักเรียน ได้แก่ 1. เอกสารการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน (คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม,2557) 2. ทฤษฎีแรงจูงใจในการอ่าน (Motivational theory) 3.ทฤษฎีการกำหนดพฤติกรรมการเรียนรู้ของ Bloom เป็นแนวคิดในการสอนอ่าน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการสอนอ่านจับใจความได้เป็นอย่างดี และรูปแบบการเรียนการสอนแบบที่เน้นกระบวนการคิด (Thinking Skills) จนได้เป็นแนวทางในการกำหนดองค์ประกอบในการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน “TABLE MODEL” ส่งเสริมทักษะการอ่าน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดประสิทธิผลทางการเรียนภาษาไทยต่อไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^