LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อ่านต่อได้ที่

usericon

การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้รูปแบบ"ต้นกล้า ล้านตอง เพาะพันธุ์ พอเพียง" สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ปีการศึกษา 2563

1.1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553 ได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา 6) และแนวทางการจัดการศึกษายังได้ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนทุกคน โดยยึดหลักว่า ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (มาตรา 22) ในการจัดการศึกษา ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ซึ่งเรื่องหนึ่งที่กำหนดให้ดำเนินการ คือ เรื่องความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข (มาตรา 23 ข้อ 5) ทั้งนี้เพื่อจัดกระบวนการเรียนให้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลให้ผู้เรียนรู้จักประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาให้รู้จักคิดเป็น ทำเป็น รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชาอีกทั้งมีการประสานความร่วมมือกับ บิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชน ทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (กรมสุขภาพจิต. 2554 :14) ครู ผู้บริหารสถานศึกษา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมีหน้าที่โดยตรงในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน คุณภาพการศึกษาจะเกิดขึ้นได้อย่างมีคุณภาพนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ครู ผู้บริหาร สถานศึกษาการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สถานศึกษาจำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ให้สามารถดำรงอยู่และสืบทอดจุดหมายของสถานศึกษาต่อไปเพื่อก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 อย่างมั่นคง
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม นโยบายหนึ่งของรัฐบาล คือ การลดเวลาเรียนภาควิชาการลงแต่ต้องไม่กระทบเนื้อหาหลักที่เด็กๆ ควรเรียนรู้ซึ่งหมายความว่า ครูต้องใช้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียนได้สาระที่ต้องรู้ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โรงเรียนจะต้องจัด กิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ให้นักเรียนปฏิบัติและควรมีกิจกรรมที่มีความหลากหลายที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะการคิด วิเคราะห์ คุณธรรม ความมีน้ำใจต่อกัน การทำงานเป็นทีม และที่สำคัญควรกระตุ้นให้เด็กค้นหาศักยภาพและความชอบของตนเองพร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมในแต่ละกิจกรรม การจัดกิจกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นในเฉพาะห้องเดียวกันหรือระดับชั้นเดียวกันบางกิจกรรม สามารถศึกษาหรือทำร่วมกันหลายระดับชั้นได้ เพื่อให้เด็กๆ รู้จักปรับตัว การช่วยเหลือดูแลกัน การมีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายช่วงวัย โดยเป็นการจำลองสภาพจริงในสังคมให้เด็กได้เรียนรู้ ซึ่งจะยิ่งช่วยเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาให้กับ เด็กไทยต่อไป การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นกรอบวิสัยทัศน์ ด้านการศึกษาเพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมเข้าสู่การ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของไทยนั้น สอดคล้องกับของหลายประเทศที่เป็นผู้นำด้านการศึกษาของโลก ที่เห็นพ้องกันกับแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 เรื่องของจิตสำนึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานการประกอบอาชีพ ความรู้พื้นฐาน ด้านพลเมือง สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อันได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะการทำงาน ทักษะชีวิตที่ใช้ได้จริง สอดแทรกคุณธรรม (กับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน รัฐ และประเทศชาติ)

    ๑.๒ แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนา
ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามบริบทและศักยภาพของชุมชน โดยมีการเน้นการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการควบคู่กับการพัฒนาทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตและมีคุณธรรม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ครูต้องปรับการเรียนการสอนตามแนวการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพใช้พื้นที่เป็นฐานในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ การปฏิรูปการศึกษาต้องเน้นที่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง สร้างชิ้นงานเป็นของตนเองได้จริง (Active Learning) มีการประเมินผลที่สมดุลเชิงคุณภาพสามารถประเมินบุคลิกภาพด้านอาชีพสู่ฐานสมรรถนะด้านการเรียนรู้ได้ตามศักยภาพและความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยผ่านการเห็นชอบของทุกฝ่าย โรงเรียนและผู้ปกครอง นักเรียน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกชุมชน หากนักเรียนกลุ่มใดสนใจที่จะเรียนรู้ทางวิชาการ มุ่งเตรียมตัวสู่ระดับอุดมศึกษา เป็นอาชีพหลัก นักเรียนที่ต้องการพัฒนาทักษะทางด้านอาชีพ และทักษะชีวิตไปพร้อมๆกันนั้นนักเรียนสามารถเรียนรู้ในงานอาชีพที่ตนเองถนัดและสนใจ โดยจัดให้มีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้รูปแบบ "ต้นกล้า ล้านตอง เพาะพันธุ์ พอเพียง" นับว่าเป็นการจัดการศึกษาเพื่อตอบโจทย์ในชีวิตจริงของนักเรียนในอนาคต ที่จำเป็นต้องฝึกทักษะที่หลากหลายผสานกับทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพรวมทั้งคุณธรรมที่เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง โดยบูรณาการเข้าเป็นเนื้อเดียวกับการจัดการเรียนรู้ของครู ในกิจกรรมลดเวลาเรียนและอิงวิถีของคนในชุมชนเป็นการนำความรู้ไปใช้ได้จริงในการดำรงชีวิต
การนำแนวคิดแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้รูปแบบ "ต้นกล้า ล้านตอง เพาะพันธุ์ พอเพียง" สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ปีการศึกษา 2563 เป็นหัวข้อหลักที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมากขึ้น นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างดียิ่ง โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง บูรณาการสู่กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการทำงานให้สอดคล้องกับผลทั้ง ๔ มิติ สามห่วงและสองเงื่อนไข ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และทำงานโดยเน้นการมีส่วนร่วม การสร้างความรู้ รัก สามัคคีในหมู่คณะ และการ มีส่วนร่วมในการประสานงานกับชุมชนและองค์กรต่าง ๆ ในการสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างสังคมพอเพียงเกิดสุขภาวะที่ดีงามร่วมกัน โจทย์สำคัญของการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเนื่องจากทิศทางที่ผ่านมาเรามุ่งพัฒนาโรงเรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มุ่งสร้างเด็กเก่งที่มีความสามารถในการแข่งขันและมุ่งสู่ระบบการศึกษา ที่เอาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นตัววัดคุณภาพโรงเรียนและคุณภาพครู จนมองข้ามเจตจำนงทางการศึกษาที่เราต้องการ “พลเมืองที่มีความสุขทั้งมิติของกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กันในตัวมนุษย์และสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและสังคม และมีความสามารถเชิงการแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”ซึ่งคำตอบนี้มีครบในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้และปลูกฝังเยาวชน นักเรียนตั้งแต่วัยเยาว์ให้เขาได้เติบโตอย่างเข้มแข็งและสง่างามมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี สร้างสังคมโลกที่เป็นสุข ซึ่งจะเป็นการศึกษาที่สามารถรับมือความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ ได้อย่างสง่างาม นอกจากนี้ยังสร้างให้บุคคลดังกล่าวเป็นคนดี ดำรงตนในทางสายกลาง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยใช้โรงเรียนเป็น เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีความศรัทธาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นแนวความคิดและหลักในการปฏิบัติเพื่อพัฒนานักเรียน เยาวชน ครอบครัว สังคม และชาติไทย ให้เกิดอุปนิสัย “พอเพียง” ได้เป็นการปลูกฝังวิถีชีวิตความพอเพียง สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ให้เป็นขบวนการที่เข้มแข็งที่จะทำให้เกิดการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา รวมทั้งเป็นกรอบแนวทางสร้างโรงเรียน นักเรียน ชุมชน วัด องค์กร และโรงเรียนเครือข่ายต่าง ๆ ให้มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันทั้งที่บ้านและโรงเรียน กลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โรงเรียนนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักและประพฤติตนเป็นแบบอย่างการมีวิถีชีวิตแบบพอเพียง
๑.๓ วัตถุประสงค์/เป้าหมายการพัฒนา
     1. เพื่อสร้างความตระหนักและสร้างองค์ความรู้ให้กับครูผู้สอนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้รูปแบบ "ต้นกล้า ล้านตอง เพาะพันธุ์ พอเพียง" สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ปีการศึกษา 2563
2. เพื่อเสริมสร้างการปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    เป้าหมายระยะสั้น
1.    สร้างความตระหนักและองค์ความรู้ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้กับครูผู้สอน
2.    สร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โดยใช้รูปแบบ"ต้นกล้า ล้านตอง เพาะพันธุ์ พอเพียง" สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ปีการศึกษา 2563
3.    นักเรียนมีทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารที่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม
4.    เสริมสร้างคุณธรรม คุณธรรม จริยธรรม จากกระบวนการขับเคลื่อนงานในโครงการให้แก่
นักเรียน

เป้าหมายระยะยาว
1.    มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสอดคล้องกับสภาพบริบท
ของคนในชุมชน
2.    นักเรียนเกิดจิตสำนึกการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอนุรักษ์
ฟื้นฟูและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นตน อย่างคุ้มค่า รักและหวงแหนถิ่นฐาน

๑.๔ ขอบเขตการดำเนินงาน
        นักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน 16๑ คน



    ๑.๕ กิจกรรมดำเนินงาน
    โรงเรียนได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้รูปแบบ"ต้นกล้า ล้านตอง เพาะพันธุ์ พอเพียง" สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ปีการศึกษา 2563 โดยมีกิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้

ที่    กิจกรรม    ระยะเวลาดำเนินงาน    ผู้รับผิดชอบ
1    ขั้นเตรียมการ (Plan)
- อบรมการสร้างนวัตกรรมและแนวทางการจัดการเรียนรู้
- ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนดำเนินกิจกรรม
- ออกแบบนวัตกรรมและแนวทางการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้รูปแบบ "ต้นกล้า ล้านตอง เพาะพันธุ์ พอเพียง" สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ปีการศึกษา 2563
- สร้างแผนดำเนินงานพัฒนาการจัดการเรียนรู้
- เตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการจัดการเรียนการสอน    


มิถุนายน 2563    คณะครูโรงเรียนวัดล้านตอง
2    ขั้นดำเนินการ (Do)
- จัดกิจกรรมนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้รูปแบบ "ต้นกล้า ล้านตอง เพาะพันธุ์ พอเพียง" สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ปีการศึกษา 2563
โดยจัดกิจกรรมทุกวันอังคาร ในกิจกรรมลดเวลาเรียน     

กรกฎาคม 2563    คณะครูโรงเรียนวัดล้านตอง
3    ขั้นประเมินผล (Check)
- ติดตาม ตรวจสอบและประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง
การดำเนินกิจกรรม
- ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมจากแบบสอบถามและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
- รายงานผลการดำเนินกิจกรรม    

สิงหาคม 2563    คณะครูโรงเรียนวัดล้านตอง
4    ขั้นปรับปรุงพัฒนา (Action)
- วิเคราะห์ผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงจุดที่เป็นปัญหาหรืออาจต้องปรับแผนใหม่ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป เพื่อให้สนองมาตรฐานการศึกษาและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม    
สิงหาคม 2563    คณะครูโรงเรียนวัดล้านตอง



โรงเรียนวัดล้านตอง ได้ออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้รูปแบบ"ต้นกล้า ล้านตอง เพาะพันธุ์ พอเพียง" สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ปีการศึกษา 2563 เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมด ๕ กิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
    กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑ ศึกษาเรียนรู้
วันที่ในการดำเนินกิจกรรม    14 ก.ค 2563
    กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๒ ลงสู่ทฤษฎี
วันที่ในการดำเนินกิจกรรม    21 ก.ค 2563
    กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๓ น้องพี่ช่วยทำ
วันที่ในการดำเนินกิจกรรม     28 ก.ค 2563
    กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๔ ทดลองนำไปใช้
วันที่ในการดำเนินกิจกรรม     4 ส.ค 2563    
    กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๕ ก้าวไกลเทคโนโลยี
วันที่ในการดำเนินกิจกรรม     11 ส.ค 2563










ภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการดำเนินงานจัดทำนวัตกรรม

    ๑.๖ ระยะเวลาดำเนินงาน
        มิถุนายน ๒๕๖๓ ถึง สิงหาคม ๒๕๖๓
1.7 งบประมาณ 30,000 บาท
กิจกรรมและรายละเอียดการใช้งบประมาณ    จำแนกตามหมวดรายจ่าย
    งบประมาณ    หมายเหตุ
ผู้รับผิดชอบ
กิจกรรม : การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้รูปแบบ"ต้นกล้า ล้านตอง เพาะพันธุ์ พอเพียง"
สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ปีการศึกษา 2563
1. ประชุมอบรมขยายผลผู้สอน จำนวน 21 คน
-    ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ 40 บาท
-    ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อ 40 บาท
2. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอน
3. จัดทำรูปเล่มนวัตกรรม        
    1.8 ประโยชน์และความสำคัญของการพัฒนา                    
1)    เกิดความตระหนักและเกิดการสร้างองค์ความรู้ให้กับครูผู้สอนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ และออกแบบการเรียนรู้ในรูปแบบการเรียนรู้ที่ได้ลงมือปฏิบัติ (Activity Learning)
2)    ผู้เรียนทุกคนมีความตระหนักในการดำรงชีวิตประจำวันด้วยความพอเพียง
3)    นักเรียนซึมซับความมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม จากกระบวนการขับเคลื่อนงานในกิจกรรม
4)    ผู้เรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน ได้รับการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพผ่านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้รูปแบบ"ต้นกล้า ล้านตอง เพาะพันธุ์ พอเพียง "

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^