รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการ
ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562-2563
ผู้รายงาน นายวีระยุทธิ์ รักษาศรี
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2562 – 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562 – 2563
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ คุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประชากรในการประเมินประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3-6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 51 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 55 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง 0.80 – 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินโครงการการประเมินพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562 – 2563 ด้านสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 2.69, S.D. = .73) อยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.73, S.D. = .69) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ครู ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 2.66, S.D. = .77) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.63, S.D. = .54) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = .53) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ครู ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.62, S.D. = .54) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562 – 2563 ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 3.30, S.D. = .69) อยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.31, S.D. = .32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินโครงการการประเมินพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562 – 2563 ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.56, S.D. = .70) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า มีผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.68, S.D. = .75) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ นักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.56, S.D. = .74) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.45, S.D. = . 62) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.46, S.D. = .46) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = .63) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = .13) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ นักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = .62) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินโครงการการประเมินพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562 – 2563 ด้านผลผลิต ปรากฏผลดังนี้
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2562 – 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( =3.42, S.D. = .72) อยู่ในระดับ ปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.50, S.D. = .70) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.41, S.D. = .72) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.55, S.D. = .66 และ S.D. = .77) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( =4.38, S.D. = .66) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครองและนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เท่ากัน ( = 4.39, S.D. = . 72) ( = 4.39, S.D. = . 61) ตามลำดับ โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 67) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2562 – 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 3.43, S.D. = .69) อยู่ในระดับ ปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.59, S.D. = .80) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ผู้ปกครอง ความเหมาะสมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 3.48, S.D. = .69) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.23, S.D. = .59) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.41, S.D. = 75) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D. = .65) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนน รวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ครู ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = .69) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = .71) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการการประเมินพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562 – 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและ คณะกรรมการสถานศึกษาพบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 3.55, S.D. = .67) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.68, S.D. = .80) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.54, S.D. = .62) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.49, S.D. = .66) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.50, S.D. = .64) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = .61) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากัน ( = 4.50, S.D. = .67) ( = 4.50, S.D. = .58) ตามลำดับ ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = .69) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนด รูปแบบและแนวทางในการพัฒนารายงาน การประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.โรงเรียนอื่น ๆ ที่มีขนาดและบริบทหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู เพราะจะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3.ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรศึกษาควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมกับการเสริมสร้าง “จิตสาธารณะ” ของนักเรียน
2.ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน