งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน
ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะในด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้
ชื่อผู้วิจัย นางพรรณเชษฐ์ ทองทิพย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีความ
บกพร่องทางด้านการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 25๖3 จากจำนวนนักเรียน ทั้งหมด 8 คน
ด้วยวิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น โดยเริ่มทำการวิจัย ตั้งแต่
เดือน พฤศจิกายน – เดือนมีนาคม ผลการวิจัย พบว่านักเรียนจำนวนหนึ่งมีการพัฒนาทักษะในด้าน
การอ่านดีขึ้นกว่าเดิม ด้วย วิธีการให้แรงเสริมโดยการชมเชยและให้ระยะเวลาในการฝึกทักษะการอ่าน
มากพอสมควร ดังนั้น นักเรียนจึงเกิดทักษะในด้านการอ่านโดยฝึกทักษะการประสมคำพยัญชนะ สระ
ตัวสะกด และรูป วรรณยุกต์ ได้อย่างถูกต้อง โดยนำมาซึ่งการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านได้อย่างคล่อง
แคล่วและ ถูกต้องเข้าใจมากยิ่งขึ้น
1. เรื่อง การพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้
2. ความสำคัญและที่มา
ในการพัฒนาวิชาภาษาไทย เป็นการพัฒนาที่เน้นการสอนเพื่อพัฒนาในด้านทักษะ และการ
ฝึกประสมคำอ่าน สะกดคำ เป็นพื้นฐานในการศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาในด้านทักษะและการฝึก ประสมคำอ่านสะกดคำเป็นพื้นฐานในการศึกษาหาความรู้ ในการสอนที่ผ่านมาพบว่า นักเรียนใน บางส่วน ยังขาดทักษะในด้านการอ่าน
จึงส่งผลมาให้ต้องมีการปรับปรุง แก้ไข และต้องมีการ พัฒนาในทักษะนี้อย่างต่อเนื่อง และจากการเรียนการสอนของนักเรียน มีนักเรียนที่มีปัญหาใน ทักษะด้านการอ่านอยู่ 8 คน ดังนั้น ผู้ที่ทำการวิจัย จึงหาวิธีการที่จะดำเนินการเพื่อที่จะแก้ปัญหา และพัฒนาให้นักเรียนได้เกิดทักษะในด้านการอ่านให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในการพัฒนาในครั้งนี้ จะใช้วิธีการประเมินนักเรียนควบคู่ไปกับกิจกรรมการเรียนการสอน
3. จุดมุ่งหมาย
เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ ด้วยวิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น 1. วิธีสอนตามปกติ
2. วิธีการประเมินที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
2.1 การทดสอบทักษะในด้านการอ่านและข้อเสนอแนะ
ตัวแปรตาม 1. พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
2. ทักษะในด้านการอ่าน
5. กรอบแนวคิดในการวิจัย
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลการวิจัยนี้ จะเป็นข้อมูลอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน ด้วย วิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการฝึกทักษะการสะกดคำ การประสมคำ ที่มีพยัญชนะ สระ ตัวสะกดและวรรณยุกต์ และให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทย เพื่อที่จะให้การเรียนการสอน วิชาภาษาไทยสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น
7. ขอบเขตของการวิจัย
1. กลุ่มที่ศึกษาเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ จำนวนนักเรียนที่ศึกษา 8 คน ของโรงเรียนอนุบาลวังม่วง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 25๖3 ในการทำวิจัย ครั้งนี้ เลือกนักเรียนที่ศึกษาในชั้นเรียน 8 คน ได้เลือกนักเรียนกลุ่มนี้เนื่องจากนักเรียนมีทักษะ พื้นฐานในด้านการสะกดคำ อ่านคำ ไม่คล่องแคล่ว จึงเป็นปัญหาในด้านการเรียนในวิชาอื่นๆ โดย ครูประจำชั้นได้ติดตามพฤติกรรมในด้านการเรียนของนักเรียนกลุ่มนี้ได้อย่างต่อเนื่อง
2. การสอนวิชาภาษาไทย หมายถึง วิธีสอนที่ผู้วิจัยได้สอนตามปกติ โดยมีเทคนิคการสอน แบบใหม่ๆ โดยการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. วิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญที่ผู้วิจัยได้ใช้ควบคู่กับการเรียนการสอน เพื่อจะได้ข้อมูล
จากตัวนักเรียนและนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่าง สูงสุด โดยมีวิธีการที่ใช้ดังต่อไปนี้ คือ โดยการสังเกตการสอนของครู สนทนา ซักถามนักเรียน การ จดบันทึกประจำคาบของนักเรียน การตรวจการบ้าน การฝึกอ่านสะกดในหนังสือแบบเรียน ภาษาไทย และหนังสือเสริมทักษะการอ่าน
4. พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน หมายถึง พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก ในการ เรียนรู้ในวิชาภาษาไทย ด้านการอ่านสะกดคำ การเขียนคำตามคำบอกของครู และการทำแบบฝึกหัดอ่านสะกดคำ
5. ทักษะการเรียนในวิชาภาษาไทย หมายถึง ความสามารถของนักเรียนในการเรียนวิชา ภาษาไทย เกี่ยวกับการอ่านสะกดคำ สามารถบอกถึงพยัญชนะ ต้น สระ ตัวสะกด และรูป วรรณยุกต์ได้ โดยมีเกณฑ์ผ่านร้อยละ 80 ขึ้นไป โดยการทดสอบเก็บคะแนน
8. วิธีดำเนินการวิจัย
1. การกำหนดระยะเวลาการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย ทั้งหมด 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
รวมทั้งหมด 25 ครั้ง โดยผู้วิจัยกำหนดให้นักเรียนอ่านสะกดคำในหนังสือ แบบเรียนภาษาไทย ในแต่ละครั้ง
ครูก็จะบันทึกหลังการอ่านสะกดคำ อ่านเนื้อเรื่องในหนังสือ แบบเรียนภาษาไทย ลงในตารางบันทึกเพื่อความก้าวหน้าของตัวนักเรียนในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามแผนการสอนตามปกติ โดยครอบคลุมเนื้อหา ในการอ่านสะกดคำอ่านเนื้อเรื่องจากหนังสือแบบเรียนภาษาไทย รวมถึงฝึกเขียนสะกดคำทุกวันใน ตอนเที่ยงก่อนมีการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 โดยดำเนินการสอนในตาราง ดังนี้
2. ในการสอนทุกสัปดาห์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการใช้วิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้ การสังเกตการสอนของครู การสนทนาพูดคุยกับนักเรียน การอ่านสะกดของนักเรียนการตรวจ แบบฝึกหัด แบบมีข้อมีข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็น
9. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เครื่องมือที่ใช้ในการสอนหมายถึง สื่อ วัสดุ อุปกรณ์
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
2.1 แบบบันทึกประจำสัปดาห์ของครู หมาย ถึง การที่ครูสังเกตพฤติกรรมการ สอนของครูและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน จากนั้นมาทำการจดบันทึกสรุปประจำสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยครอบคลุม 4 ประเด็น ดังนี้ การสังเกตการสอนของครู การสนทนา พูดคุยกับนักเรียน การตรวจเช็คการอ่านในแต่ละครั้งของนักเรียนในตาราง โดยมีการควบคุมการ เรียนการสอนทั้งหมด 25 ครั้ง
2.2 แบบตารางดำเนินการสอนของครู 5 สัปดาห์ = 5 / สัปดาห์
2.3 แบบทดสอบแบบฝึกอ่านสะกดคำ
2.4 แบบตารางคะแนนในการอ่านสะกดคำของนักเรียนแต่ละคน
2.5 ได้นำแบบฝึกอ่านสะกดคำมาวิเคราะห์ผลการเรียนรู้
10. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
10.1 พฤติกรรมการเรียน
จากแบบสังเกตซึ่งผู้วิจัยบันทึกในเครื่องมือ การวิเคราะห์ตอนนี้ ผู้วิจัยได้นำแบบ ตารางการบันทึกพฤติกรรมของครูที่จดบันทึกไว้มาสังเคราะห์สรุปเป็นจำนวน 25 ครั้ง โดยได้ทำเป็นตารางการบันทึก ดังนี้
10.2 ผลการเรียน
การวิเคราะห์ตอนนี้ ผู้วิจัยได้คะแนนในการ อ่านสะกดคำที่ประสมด้วยสระต่างๆ
11. สรุปผล
จากผลในการวิจัยในเรื่องการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางด้านการเรียนรู้ ซึ่งมีจำนวนนักเรียน 8 คน พบว่ามีปัญหาในด้านทักษะการอ่าน สะกดคำ ผู้วิจัยจึงได้ทดสอบโดยใช้แบบทดสอบการอ่านสะกดคำที่ประสมสระต่างๆ ให้นักเรียนได้ ฝึกอ่าน ในขั้นแรกคือก่อนเรียน นักเรียนสามารถ
อ่านคำที่กำหนดให้ได้อยู่ในเกณฑ์ จากเกณฑ์ ร้อยละ 80 ผลคือ 50.02,40.33,50.02,50.02,50.02,
50.75 ยังต้องปรับปรุงและมีการแก้ไขต่อไป ดังนั้นครูจึงใช้ แนวการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการที่จะให้นักเรียนมีความเข้าใจในทักษะในด้านการอ่านสะกดคำ และได้ให้เพื่อนๆ ในห้องได้มีส่วนร่วมในการแนะนำหลักและวิธีในการอ่านสะกดคำหลังจากนั้นครู ได้ใช้ชุดแบบทดสอบชุดเดิม ให้นักเรียนได้ฝึกทดลองอ่านสะกดคำอีกครั้งหนึ่ง ผลปรากฎว่านักเรียนได้ร้อยละ คือ60.12, 50.02, 60.55, 70.03, 50.75, 70.03, 50.75, 50.75 มีผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่านสะกดคำโดยคิดเป็นร้อยละ แสดงว่านักเรียนมีการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านที่ดีขึ้น
12. ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย
1. จะช่วยให้ผู้วิจัยทราบว่าในการทำวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน ด้วยวิธีการ ประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีปัญหาในการวิจัยว่าเป็นอย่างไรบ้าง
2. เพื่อสรุปผลการประเมินแล้วจะได้มีการพัฒนาให้ตรงกับการพัฒนาทักษะการอ่านได้อย่างรวดเร็ว
ผู้วิจัย นางพรรณเชษฐ์ ทองทิพย์
ตำแหน่งครู โรงเรียนอนุบาลวังม่วง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย โรงเรียนอนุบาลวังม่วง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2