LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช
     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
     สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย     นางสาวหทัยกานต์ ประโพธิง
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา     2562

บทคัดย่อ
            
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่อง
เมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย
แบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทัพมะขาม ตำบลบ้านปรางค์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ซึ่งใช้วิธีการเลือกตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น (Non probability sampling) เนื่องจากในการดำเนินการวิจัย ไม่สามารถที่จะสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้ เพราะมีข้อจำกัดคือ จำนวนนักเรียนน้อยและมีนักเรียนเพียงห้องเดียวเท่านั้น มีจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการและความคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
แบบบูรณาการ 2) หลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและโดยสถิติ
ทดสอบที (t-test)



    ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้อง สอบถามความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จัดประชุมกลุ่มย่อย(Focus group) เพื่อยกร่างและกำหนดองค์ประกอบและเนื้อหาของหลักสูตร (2) การบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีกลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นสาระการเรียนรู้หลักและเชื่อมโยงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับกลุ่มสาระอื่นอีก 7 สาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ
การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยที่ 1 เรื่อง เมืองหญิงกล้า หน่วยที่ 2 เรื่อง ผ้าไหมดี หน่วยที่ 3 เรื่อง หมี่โคราช หน่วยที่ 4 เรื่อง ปราสาทหิน และหน่วยที่ 5 เรื่อง ดินด่านเกวียน ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ 15 แผน ใช้เวลาสอน 22 ชั่วโมง (3) องค์ประกอบของหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตรและอัตราเวลาเรียน ผังมโนทัศน์ของหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา แนวการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.71, S.D.=.10) 2) หลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ
83.32/82.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ3) นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73,S.D =0.17)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^