การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้รายงาน นางเกษศิรินทร์ จุมกุดรัง
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล 1 (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์)
สังกัดเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 1 (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 แผน และ 2) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ จำนวน 20 คะแนน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประกอบด้วย หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน บทบาทครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและจิตภาพ บทบาทนักเรียน 2) ด้านการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วยแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม การกระตุ้น การเรียนรู้ การเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ การลงมือปฏิบัติ การสะท้อนความคิด การสรุปและประเมินผล 3) ด้านการวัดและประเมินผล ประกอบด้วย แนวคิดและการวัดและประเมินผล แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และการประเมินตามสภาพจริง
2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
2.1 ผลการสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ได้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการจัดเตรียม ขั้นการทบทวนความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่ ขั้นการหาความรู้เพิ่มเติม ขั้นการสร้างความทรงจำ และขั้นการบูรณาการ ซึ่งมีสาระสำคัญในแต่ละองค์ประกอบต่างๆ ของกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4) เงื่อนไขของการนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มาใช้ และ 5) ผลที่ได้จากการรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
2.2 ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นมีพัฒนาทางด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และเด็กอนุบาลที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก