LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ)

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียน
คำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์

ชื่อผู้วิจัย     นางสาวอัจฉราภรณ์ ทุมทน
         ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

สังกัด         โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์
         เทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น

ปีการศึกษา     2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ เทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ 3) แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ พบว่า นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอนมีความเห็นว่า ปัญหาสำคัญในการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง คำคล้องจอง คือทักษะการอ่าน การเขียน นักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมด้านทักษะการอ่าน การเขียน ในรูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการมากที่สุด คือ กิจกรรม ที่ส่งเสริมการเรียนรู้รายบุคคล มีภาพ เสียง มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และไม่จำกัดเวลาเรียน
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.90/86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
     3. การศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น พบว่า
        3.1 นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3.2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง เท่ากับ 0.8051 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน ร้อยละ 80.51
     4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.99 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.58
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^