LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

usericon

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผู้วิจัย     นายธีรพงค์ จินดาวัลย์
หน่วยงาน     โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา
ปีการศึกษา     2562

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ 3) ทดลองการจัดการเรียนรู้ และ 4) ประเมินและปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา ที่กำลังศึกษา
ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 คัดเลือกโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 18 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) การจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 20 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยใช้การจัดการเรียนรู้ “IACKSP Model” ในขั้นการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 6 ขั้น 1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction)
2. ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Arouse interest) 3. ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ (Cooperative group)
3.1 ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหา 3.2 ขั้นกิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย 3.3 เสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อทั้งชั้น 4. ขั้นแสวงหาความรู้ (Knowledge) 5. ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ (Summary) 6. ขั้นนำเสนอ (Present) 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นว่าข้อมูลจากการสำรวจ สามารถนำผลที่ได้ มาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้เป็นใบความรู้ ใบกิจกรรม การทดสอบความรู้ การปฏิบัติ
และการวัดผลและประเมินผล

    2. การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 83.28/84.26
    3. ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย วัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.17 คิดเป็นร้อยละ 75.83 และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 83.28/84.26 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
    4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^